ปาฏิหาริย์! เด็กมะกันหัวใจนอกร่างกาย รอดชีวิตรายแรกของโลก

ปาฏิหาริย์! เด็กมะกันหัวใจนอกร่างกาย รอดชีวิตรายแรกของโลก

ปาฏิหาริย์! เด็กมะกันหัวใจนอกร่างกาย รอดชีวิตรายแรกของโลก




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก WorldWideFeatures



          เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ ได้เปิดเผยเรื่องราวสุดปาฏิหาริย์ของหนูน้อยวัย 3 ขวบรายหนึ่ง ที่รอดชีวิตมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากคลอดออกมาแล้วมีหัวใจอยู่นอกร่างกาย นับเป็นเด็กรายแรกของโลกที่รอดชีวิตจากภาวะดังกล่าวนี้

          หนูน้อยคนนี้มีชื่อว่า ไรอัน มาร์ควิซ วัย 3 ขวบ จากรัฐเพนซิลวาเนียของสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นเด็กรายแรกของโลกที่สามารถรอดชีวิตจากภาวะหัวใจอยู่นอกร่างกายได้ จนทำเอาแพทย์พยาบาลต่างทึ่ง เพราะปกติทารกที่เกิดมาในลักษณะแบบนี้จะเสียชีวิตภายใน 3 วันหลังคลอด แทบไม่มีทารกคนไหนรอดชีวิตและเติบโตขึ้นมาได้อย่างปกติเหมือนหนูน้อยไรอันเลย

          จากเหตุการณ์สุดปาฏิหาริย์นี้ นางมาควิซ แม่ของไรอันเล่าว่า จริง ๆ แล้วแพทย์ตรวจพบภาวะหัวใจนอกร่างกายของไรอัน ตั้งแต่เธอท้องได้เพียง 12 สัปดาห์แล้ว และแพทย์ได้แนะนำให้เธอทำแท้งในตอนนั้น แต่เธอกลับปฏิเสธที่จะทำแท้งและเก็บลูกไว้ ด้วยความหวังว่าอาจมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นกับลูกก็ได้ และหลังจากนั้นเมื่อเธอคลอดไรอันออกมา ก็พบว่าปาฏิหาริย์มีจริง เมื่อไรอันรอดชีวิตมาได้ จากนั้นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คน จึงร่วมกันผ่าตัดหัวใจไรอันเข้าไปในร่างกาย โดยใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และภารกิจนี้ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไรอันสามารถเติบโตขึ้นเฉกเช่นเด็กปกติจนวันนี้ นับว่าเป็นเด็กรายแรกของโลกที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจนอกร่างกายมาได้

          อย่างไรก็ดี แม้ว่าการผ่าตัดหัวใจกลับเข้าไปในร่างกายไรอันจะประสบผลสำเร็จ แต่หนูน้อยไรอันมีชีวิตอยู่โดยใช้หัวใจซีกซ้ายเพียงซีกเดียวเท่านั้น เนื่องจากหัวใจซีกขวาของเขาฝ่อ แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น หนูน้อยไรอันก็สามารถวิ่งเล่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันได้ตามปกติ

          ทั้งนี้ สำหรับภาวะหัวใจนอกร่างกาย หรือ ectopia cordis มีโอกาสเกิดขึ้นในเด็กทารก 8 ใน 1 ล้านคน และเด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะนี้เกือบทุกคนมักจะเสียชีวิตทันทีหลังคลอด หรือถ้าสามารถอยู่ได้นานหน่อยก็คือไม่เกิน 3 วัน ก่อนจะเกิดภาวะหัวใจติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


Paiboon

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ