การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า

การบำรุงรักษา และใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า


 

- อย่าถอดด้านหลังของเครื่องด้วยตนเอง เพราะอาจจะเกิดความเสียหายต่อโทรทัศน์ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์สีจะผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage) ซึ่งเป็นอันตรายต่อการสัมผัส แม้ว่าจะปิดไฟแล้วก็ตาม
 
3. พัดลม
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธีพัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาแพงกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะมีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้น ในการเลือกใช้ จึงมีข้อควรพิจารณา ดังนี้
- พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียวหรือไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมีไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ควรใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
- เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลม ควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพัก และไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
- ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น อากาศบริเวณรอบพัดลม อับชื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
 
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้
- หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบพัดและตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุดหรือโค้งงอผิดสัดส่วน จะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
- หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
 
4. กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรเลือกซื้อรุ่นที่มีฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
- ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการ หรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะนอกจาก
ไม่ประหยัดพลังงาน ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระติก
- ระวังอย่าให้น้ำแห้ง หรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดที่กำหนด เพราะเมื่อน้ำแห้งจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อน เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
- ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำแล้ว แต่ถ้าหากมีความต้องการใช้น้ำร้อนเป็นระยะๆ ติดต่อกัน เช่นในสถานที่ทำงานบางแห่งที่มีน้ำร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องดื่มต้อนรับแขก ก็ไม่ควรดึงปลั๊กออกบ่อยๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะค่อยๆ ลดลง กระติกน้ำร้อนไม่สามารถเก็บความร้อนได้นาน เมื่อจะใช้ใหม่ก็ต้องเสียบปลั๊กและเริ่มทำการต้มน้ำใหม่ เป็นการสิ้นเปลือง
พลังงาน
- ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำร้อนแล้ว
- อย่านำสิ่งใดๆ มาปิดช่องไอน้ำออก
- ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
- ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีการปรับอากาศ
  
การดูแลรักษา
การดูแลกระติกน้ำร้อนให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น และลดการใช้พลังงานลงจะป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มีวิธีการดังนี้
- หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊ก ซึ่งมักเป็นจุดที่ขัดข้องเสมอ
- ควรต้มน้ำที่สะอาดเท่านั้น มิฉะนั้นผิวในกระติกอาจเปลี่ยนสีเกิดคราบสนิมและตะกรัน
- หมั่นทำความสะอาดตัวกระติกด้านใน อย่าให้มีคราบตะกรัน เพราะจะเป็นตัวต้าน ทานการถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำ เพิ่มเวลาการต้มน้ำและสูญเสียพลังงานโดย เปล่าประโยชน์
- เมื่อไม่ต้องการใช้กระติก ควรล้างกระติกด้านในให้สะอาดและคว่ำกระติกลงเพื่อ
ให้น้ำออกจากตัวกระติก แล้วใช้ผ้าเช็ดด้านในให้แห้ง
- ก่อนทำความสะอาดด้านในกระติก ควรเทน้ำภายในออกให้หมด รอให้ตัวกระติก เย็น จึงค่อยทำความสะอาด
- ควรทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของกระติก ตามคำแนะนำต่อไปนี้ ตัวและฝากระติก ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาด แล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานล้างให้สะอาด ตัวกระติกด้านในใช้ฟองน้ำชุบเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ เทน้ำที่ใช้ล้างออกให้หมด อย่าราดน้ำลงบนส่วนอื่ของกระติก นอกจากภายในกระติกเท่านั้น อย่าใช้ของมีคม หรือฝอยขัดหม้อขูด หรือขัดตัวกระติกด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดได้
 
5. เครื่องดูดฝุ่น
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรเลือกขนาดของเครื่องตามความจำเป็นในการใช้งาน
- วัสดุที่เป็นพรมหรือผ้าซึ่งฝุ่นสามารถเกาะได้อย่างแน่นหนา ควรใช้เครื่องที่มีขนาด กำลังไฟฟ้ามาก (Heavy Duty) ส่วนบ้านเรือนที่เป็นพื้นไม้ พื้นปูน หรือหินอ่อนที่ง่ายต่อการ ทำความสะอาด เพราะฝุ่นละอองไม่เกาะติดแน่น ก็ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำซึ่งจะไม่ สิ้นเปลืองการใช้ไฟฟ้า
- ควรหมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาด เพราะถ้าเกิดการ อุดตัน นอกจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพการดูดฝุ่น ดูดฝุ่นไม่เต็มที่ และเพิ่มเวลาการดูดฝุ่น เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าของมอเตอร์ที่ต้องทำงานหนักและอาจไหม้ได้
- ควรใช้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อเป็นการระบายความร้อนตัวมอเตอร์
- ไม่ควรใช้ดูดวัสดุที่มีส่วนประกอบของน้ำ ความชื้น และของเหลวต่างๆ รวมทั้ง สิ่งของที่มีคม และของที่กำลังติดไฟ เช่น ใบมีดโกน บุหรี่ เป็นต้น เพราะอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อส่วนประกอบต่างๆ
- ควรหมั่นถอดถุงผ้าหรือกล่องเก็บฝุ่นออกมาทิ้ง อย่าให้สะสมจนเต็มเพราะมอเตอร์ต้องทำงานหนักขึ้น อาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ และยังทำให้การใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลืองขึ้น
- ใช้หัวดูดฝุ่นให้เหมาะกับลักษณะฝุ่นหรือสถานที่ เช่น หัวดูดชนิดปากปลายแหลมจะใช้กับบริเวณที่เป็นซอกเล็กๆ หัวดูดที่เป็นแปรงใช้กับโคมไฟ เพดาน กรอบรูป เป็นต้น ถ้าใช้ ผิดประเภทจะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดลดลง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
- ก่อนดูดฝุ่น ควรตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่างๆ ให้แน่น มิฉะนั้นอาจเกิดการรั่วของอากาศ ประสิทธิภาพของเครื่องจะลดลง และมอเตอร์อาจทำงานหนักและไหม้ได้

การดูแลรักษา
- หมั่นทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของเครื่องให้สะอาด และอย่าให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปทำให้อุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวกรองหรือตะแกรงกันเศษวัสดุมิให้เข้าสู่มอเตอร์ ควรทำความสะอาดโดยใช้แปรงถูเบาๆ และล้างน้ำ จากนั้นนำไปตากแดดในที่ร่มให้แห้ง ไม่ควรใช้น้ำอุ่นล้างน้ำควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส
- หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปวางในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อ
ให้มอเตอร์ระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา Aksorn.com

 

 

เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นเครื่องใช้ภายในบ้านที่ต้องใช้ไฟฟ้าจึงจะทำงานได้ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นโทรทัศน์ พัดลม ซึ่งการบำรุงรักษา และใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า  การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรพิจารณาเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับการใช้เป็นหลัก เช่น ต้องการใช้น้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำเท่านั้น ก็ควรจะติดตั้งชนิดทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
- ควรเลือกใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ (Water Efficient Showerhead) เพราะสามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25-75
- ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 10-20
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายใน เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองการใช้พลังงาน
- ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
 
การดูแลรักษา
 ควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ตลอดจนตรวจดูระบบท่อน้ำและรอยต่อ อย่าให้มีการรั่วซึม และเมื่อเครื่องมีปัญหาควรตรวจสอบ ดังนี้
- ถ้าน้ำที่ออกจากเครื่องน้ำเย็น อันเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ขดลวดความร้อนสาเหตุอาจเกิดจากฟิวส์ขาด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ไฟผ่าน
- ถ้าไฟสัญญาณติดแต่ขดลวดความร้อนไม่ทำงาน น้ำไม่อุ่น สาเหตุอาจเกิดจากขดลวด ความร้อนขาด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิเสีย
- ถ้าน้ำจากเครื่องร้อน หรือเย็นเกินไป สาเหตุอาจเกิดจากอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิทำงาน ผิดปกติ

2. โทรทัศน์
การเลือกใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- การเลือกใช้โทรทัศน์สีควรคำนึงถึงความเหมาะสมของขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า
- โทรทัศน์สีระบบเดียวกันแต่ขนาดต่างกัน จะใช้พลังงานต่างกันด้วย กล่าวคือโทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ และมีราคาแพงกว่า จะใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีขนาดเล็ก เช่น  ระบบทั่วไป ขนาด 16 นิ้ว จะเสียค่าใช้ไฟฟ้ามากกว่า 14 นิ้ว ร้อยละ 5 หรือ ขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 5 หรือขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าขนาด 16 นิ้ว ร้อยละ 34
- โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีระบบทั่วไปที่มี ขนาดเดียวกัน เช่น โทรทัศน์สีขนาด 16 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรล เสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบ ธรรมดา ร้อยละ 5 โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบ ธรรมดา ร้อยละ 18
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ฟ้าแลบได้
- ปิดเมื่อไม่มีคนดู หรือตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดไฟฟ้า
- ไม่ควรเสียปลั๊กเครื่องเล่นวีดีโอ หรือเครื่องเล่นซีดีในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้
เพราะเครื่องเล่นเหล่านี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- พิจารณาเลือกดูรายการเอาไว้ล่วงหน้า ดูเฉพาะรายการที่เลือกตามช่วงเวลานั้นๆ
หากดูรายการเดียวกันควรเปิดโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียว
 
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคงทน ภาพที่
ได้ชัดเจน และมีอายุการทำงานยาวนานขึ้นแล้ว ผลพลอยได้อีกส่วนหนึ่งก็คือประหยัดพลังงาน
- ควรเลือกใช้เสาอากาศภายนอกบ้านที่มีคุณภาพดี และติดตั้งถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น หันเสาไปทางที่ตั้งของสถานีในลักษณะให้ตั้งฉาก เป็นต้น
- ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาสได้ดี และตั้งห่างจากผนัง หรือมู่ลี่อย่าง น้อยประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก
- ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป เพราะจะทำให้หลอดภาพมีอายุสั้น และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวตู้โทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจาน ผสมกับน้ำ ชุบทาบางๆ แล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง โดยอย่าลืมถอดปลั๊กออกก่อนทำความสะอาด

การบำรุงรักษา และใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี


 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruwassana

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน