ใบความรู้สัปดาห์ที่ 1
ใบความรู้สัปดาห์ที่1
บทที่1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ
1.1 ความหมายของสถิติ
สถิติหมายถึง - ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงของข้อมูล
- ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยการใช้ศึกษาที่เรียกว่า ระเบียบวิธี
ทางสถิติ
1.2 ชนิดของสถิติ
1.2.1 สถิติเชิงพรรณา เป็นสถิติที่ว่าด้วยขบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ การนำเสนอข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
1.2.2 สถิติเชิงอนุมาน เป็นสถิติที่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้ต้องมาจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปสรุปลักษณะของประชากร
1.3 คำต่าง ๆ ในวิชาสถิติ
1.3.1 ประชากร (Population) หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่เราสนใจและเก็บรวบรวมขึ้นมาเพื่อศึกษา
1.3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างนี้จะได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากร
1.3.3 ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) หมายถึง ค่าที่แสดงถึงลักษณะต่าง ๆ ของประชากร
1.3.4 ค่าสถิติ (Statistics) หมายถึงค่าที่แสดงลักษณะต่าง ๆของตัวอย่าง ค่าสถิติเป็นค่าคำนวณที่ได้จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง นำมาคำนวณโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีทางสถิติ
1.3.5 ตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการที่ต้องการศึกษาเรื่องนั้นหรือเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนตัวแปรอื่น ๆ
1.3.6 ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรหรือเป็นผลการเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นหลังจากตัวแปรต้น
1.4 ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลทางสถิติแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ข้อมูลที่เราต้องการศึกษาไว้แล้ว ผู้ใช้ไม่ต้องลงมือเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น อายุ น้ำหนัก
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เป็นข้อมูลที่บอกถึงสภาพ คุณลักษณะ หรือสมบัติของสิ่งที่เราสนใจ
เพศ ศาสนา
แหล่งของข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ต้องการศึกษาไปเก็บรวบรวมข้อมูลเอง
โดยตรง
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวม
เอง ทำให้
ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายและจะไม่ค่อยตรงกับความต้องการของผู้ศึกษา ข้อมูลอาจ
ไม่ทันสมัย
1.5 ระเบียบทางสถิติ
ระเบียบวิธีการทางสถิติจำแนกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการเพื่อทราบภูมิ
หลังของข้อมูลเป็นวิธีการซึ่งนำมาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง
2. การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) นำมาจัดหมวดหมู่เพื่อจะได้สะดวกในการ
ค้นหาต่อไป
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) คำนวณหาค่าสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
4. การตีความหมายของข้อมูล (Interpretation) การนำข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ข้อมูลทาง
สถิติมาตีความหมายเพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูลและหาข้อสรุปต่อไป
1.6 ระดับการวัดของข้อมูล
ระดับการวัดของข้อมูลแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
- มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ง่ายที่สุด คือเป็นเพียงการวัดด้านคุณภาพ เช่น เพศ
แยกเป็น เพศชายและเพศหญิง ศาสนา แยกเป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู
- มาตราเรียงอันดับ เป็นมาตราวัดที่ให้ลำดับที่เปรียบเทียบได้ว่าดีกว่า มากกว่าแต่ไม่
สามารถบอกค่าความแตกต่างได้
- มาตราอันดับชั้น เป็นมาตรการวัดเชิงปริมาณที่สามารถบอกความแตกต่างเป็นปริมาณที่
แน่นอน เช่น การวัดอุณหภูมิ
- มาตราอัตราส่วน เป็นมาตรการวัดที่สมบูรณ์ที่สุด โดยมีศูนย์แท้ เช่น ความสูง น้ำหนัก
1.7 การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลจำแนกได้ดังนี้
- การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง
- การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟแท่ง
- การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟเส้น
- การนำเสนอข้อมูลในรูปวงกลม
- การนำเสนอข้อมูลในรูปภาพ
ตัวอย่างที่1จากการสำรวจผู้สำเร็จการศึกษาที่ประสงค์ทำงาน ปีการศึกษา 2547 จำแนกตามภาคดังนี้
|
|
|
กรุงเทพฯ |
12,337 |
20.06 |
ภาคกลาง |
8,751 |
14.24 |
ภาคเหนือ |
10,159 |
16.52 |
ภาคตะวันออก |
2,917 |
4.74 |
ภาคตะวันตก |
4,208 |
6.84 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
14,193 |
23.08 |
ภาคใต้ |
8,930 |
14.52 |
รวม |
61,495 |
100 |
จงการนำเสนอข้อมูลในรูปภาพ
รูปภาพแสดงผู้สำเร็จการศึกษาที่ประสงค์ทำงาน ปีการศึกษา 2547