ใบความรู้สัปดาห์ที่ 1

ใบความรู้สัปดาห์ที่1

บทที่1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ

  1.1 ความหมายของสถิติ

         สถิติหมายถึง -  ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงของข้อมูล

                                - ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยการใช้ศึกษาที่เรียกว่า ระเบียบวิธี 

                                   ทางสถิติ

 

 1.2 ชนิดของสถิติ

       1.2.1  สถิติเชิงพรรณา เป็นสถิติที่ว่าด้วยขบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ การนำเสนอข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์

       1.2.2  สถิติเชิงอนุมาน เป็นสถิติที่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้ต้องมาจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปสรุปลักษณะของประชากร

 

  1.3  คำต่าง ๆ ในวิชาสถิติ

        1.3.1  ประชากร (Population)  หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่เราสนใจและเก็บรวบรวมขึ้นมาเพื่อศึกษา

        1.3.2  กลุ่มตัวอย่าง  (Sample)  หมายถึง  ส่วนหนึ่งของประชากรที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างนี้จะได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากร

        1.3.3  ค่าพารามิเตอร์  (Parameter)  หมายถึง  ค่าที่แสดงถึงลักษณะต่าง ๆ ของประชากร

        1.3.4  ค่าสถิติ  (Statistics)  หมายถึงค่าที่แสดงลักษณะต่าง ๆของตัวอย่าง ค่าสถิติเป็นค่าคำนวณที่ได้จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง นำมาคำนวณโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีทางสถิติ

        1.3.5  ตัวแปรต้น  เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการที่ต้องการศึกษาเรื่องนั้นหรือเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนตัวแปรอื่น ๆ

        1.3.6  ตัวแปรตาม  เป็นตัวแปรหรือเป็นผลการเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นหลังจากตัวแปรต้น

 

  1.4  ประเภทของข้อมูล

                ข้อมูลทางสถิติแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1.              ข้อมูลที่เราต้องการศึกษาไว้แล้ว ผู้ใช้ไม่ต้องลงมือเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณ  (Quantitative Data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้   เช่น  อายุ  น้ำหนัก
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ  (Quantitative Data)  เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เป็นข้อมูลที่บอกถึงสภาพ คุณลักษณะ หรือสมบัติของสิ่งที่เราสนใจ 

เพศ  ศาสนา

           แหล่งของข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

                1.  ข้อมูลปฐมภูมิ  (Primary Data)  เป็นข้อมูลที่ผู้ต้องการศึกษาไปเก็บรวบรวมข้อมูลเอง

                     โดยตรง

                2.  ข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary Source)  เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวม

เอง ทำให้

                     ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายและจะไม่ค่อยตรงกับความต้องการของผู้ศึกษา ข้อมูลอาจ

                     ไม่ทันสมัย

 

  1.5  ระเบียบทางสถิติ

ระเบียบวิธีการทางสถิติจำแนกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

                1.  การเก็บรวบรวมข้อมูล  (Collection of Data) ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการเพื่อทราบภูมิ

                   หลังของข้อมูลเป็นวิธีการซึ่งนำมาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง

                2.  การนำเสนอข้อมูล  (Presentation of Data) นำมาจัดหมวดหมู่เพื่อจะได้สะดวกในการ

                   ค้นหาต่อไป

                3.  การวิเคราะห์ข้อมูล  (Analysis of Data) คำนวณหาค่าสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

                4.  การตีความหมายของข้อมูล  (Interpretation)  การนำข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ข้อมูลทาง

                   สถิติมาตีความหมายเพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูลและหาข้อสรุปต่อไป

 

1.6  ระดับการวัดของข้อมูล

       ระดับการวัดของข้อมูลแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้

  1. มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ง่ายที่สุด  คือเป็นเพียงการวัดด้านคุณภาพ เช่น เพศ

    แยกเป็น เพศชายและเพศหญิง ศาสนา  แยกเป็น  พุทธ  คริสต์  อิสลาม  ฮินดู 

  1. มาตราเรียงอันดับ  เป็นมาตราวัดที่ให้ลำดับที่เปรียบเทียบได้ว่าดีกว่า  มากกว่าแต่ไม่

    สามารถบอกค่าความแตกต่างได้

  1. มาตราอันดับชั้น เป็นมาตรการวัดเชิงปริมาณที่สามารถบอกความแตกต่างเป็นปริมาณที่

    แน่นอน เช่น การวัดอุณหภูมิ

  1. มาตราอัตราส่วน  เป็นมาตรการวัดที่สมบูรณ์ที่สุด โดยมีศูนย์แท้ เช่น ความสูง  น้ำหนัก

 

 

1.7  การนำเสนอข้อมูล

       การนำเสนอข้อมูลจำแนกได้ดังนี้

  1. การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความ
  2. การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง
  3. การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟแท่ง
  4. การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟเส้น
  5. การนำเสนอข้อมูลในรูปวงกลม
  6. การนำเสนอข้อมูลในรูปภาพ

ตัวอย่างที่1จากการสำรวจผู้สำเร็จการศึกษาที่ประสงค์ทำงาน ปีการศึกษา 2547 จำแนกตามภาคดังนี้

 

 

 

 

กรุงเทพฯ

12,337

20.06

ภาคกลาง

8,751

14.24

ภาคเหนือ

10,159

16.52

ภาคตะวันออก

2,917

4.74

ภาคตะวันตก

4,208

6.84

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

14,193

23.08

ภาคใต้

8,930

14.52

รวม

61,495

100

 

จงการนำเสนอข้อมูลในรูปภาพ

รูปภาพแสดงผู้สำเร็จการศึกษาที่ประสงค์ทำงาน ปีการศึกษา 2547