อาชีพช่างไฟฟ้า

บทที่ 1 อาชีพช่างไฟและคำศัพท์ทางไฟฟ้า
อาชีพช่างไฟฟ้า

          การเลือกประกอบอาชีพทางช่างไฟฟ้านั้น หมายถึงการประกอบอาชีพที่น่าสนใจ และมีรายได้ดีอีกอาชีพหนึ่ง ช่างไฟฟ้ามีหลายประเภท และหน้าที่ของช่างไฟฟ้าก็แตกต่างกันมาก ช่างฟ้าที่ทำงานในสถานก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็ใช้เครื่องมือและทักษะต่างๆ ที่แตกต่างไปจากช่างไฟฟ้าที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีจะกล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ช่างไฟฟ้าทุกประเภทจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้า มีความสามารถอ่านแบบพิมพ์เขียนวงจรไฟฟ้า และสามารถซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้
             แหล่งงานของช่างไฟฟ้า    ช่างไฟฟ้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ทำงานให้กับผู้รับเหมางานด้านไฟฟ้า หรือไม่ก็ทำในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นอกนั้นมีช่างไฟฟ้าอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอย่างอิสระเป็นผู้รับเหมาเสียเอง และมีช่างไฟฟ้าจำนวนหนึ่งที่ทำงานให้กับองค์กรของรัฐบาล หรือทางธุรกิจ ซึ่งเป็นงานที่ให้บริการแก่หน่วยงานของตน แม้ว่าแหล่งงานของช่างไฟฟ้าจะมีอยู่ทั่วประเทศ แต่แหล่งงานส่วนใหญ่นั้นจะมีอยู่ในเขตอุตสาหกรรม หรือเขตพื้นที่ที่กำลังพัฒนา

    การฝึกอบรม คุณสมบัติและความก้าวหน้า  ตามความเห็นของโรงเรียนอาชีวะศึกษาและ สถานสอนฝึกหัดวิชาชีพนักเรียนที่สำเร็จหลักสูตรวิชาชีพ 3 ปี ควรจะมีความรู้ความสามารถประกอบอาชีพได้้เป็นอย่างดี แต่ก็มีบางคนที่ไม่มีโอกาสเรียนในสถานศึกษาวิชาชีพโดยตรง แต่ได้รับประสบการณ์จากการทำงานเป็นผู้ช่วยช่างไฟฟ้ามาเป็นเวลานาน และเข้ามารับการอบรมวิชาชีพเพิ่มเติมตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เช่น โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยฝึกฝนอาชีพ
       สำหรับการศึกษาวิชาชีพของไทยมี 2 ประเภทด้วยกันคือ หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว หลักสูตรระยะนั้นจะเปิดสอนวิชาชีพด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก็สำเร็จจบหลักสูตร เช่น 3 เดือน 6 เดือน โดยจะเน้นหนักทางวิชาชีพทางด้านเดียว เรียนภาคทฤษฎีช่าง และฝึกหัดภาคปฏิบัติ เหมาะสมกับการนำไปประกอบอาชีพส่วนตัว และโรงงานในตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยช่างไฟฟ้าได้ สถานศึกษาที่เปิดสอนวิชาชีพนี้ ได้แก่โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยฝึกฝนอาชีพ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ คุณสมบัติของผู้สมัครเรียนจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี โดยทั่วๆ ไปจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมาบ้าง ส่วนหลักสูตรระยะยาวนั้น จะใช้เวลาถึง 3 ปี จึงจะสำเร็จ โดยได้วุฒิทางการศึกษาขั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เปิดสอนวิชาหมวดวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งหมวดวิชาสามัญด้วย ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละประมาณ 40 ชั่วโมง หน้าที่ในการทำงาน จะมีตำแหน่งเป็นช่างไฟฟ้า มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาช่างไฟฟ้ารวมทั้งการเดินสายไฟฟ้าด้วย เนื้อหาในหลักสูตรนั้นจะต้องเรียนทฤษฎีวิชาไฟฟ้าและภาคปฏิบัติ งานช่าง อิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เขียนแบบเครื่องกล วิชาความปลอดภัย และการช่วยเหลือประถมพยาบาลเบื้องต้นในขณะปฏิบัติงาน รวมถึงการอ่านแบบพิมพ์เขียวได้ด้วย นอกจากนี้จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำแบบแผนผัง ระบบไฟฟ้าได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนทางวิชาชีพช่างไฟฟ้านี้ก็ยังคงต้องการผู้เรียนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ความคล่องแคล่วในการใช้มือ ความกระฉับกระแฉง และที่สำคัญก็คือจะต้องไม่มีสายตาที่บอดสี เพราะเหตุว่าเราจะต้องใช้สีต่างๆ ของฉนวนบอกประเภทการใช้งานสายไฟ
     ช่างฟ้ามีความชำนาญ สามารก้าวขึ้นไปเป็นที่ปรึกษา ผู้ควบคุมดูแลและให้คำแนะนำทางเทคนิค หรือเป็นผู้ประมาณราคาในงานรับเหมาไฟฟ้าได้ และช่างไฟฟ้าจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอดิเรก หรือทำงานอิสระรับเหมางานทางฟ้าทั่วๆ ไป ตามท้องถิ่นที่มีไฟฟ้าใช้

         โอกาสในการทำงาน มีการคาดคะเนกันว่า ในอนาคตงานของช่างไฟฟ้าจะมีแนวโน้ม สูงขึ้นมากกว่างานด้านอื่นๆ ทั้งนี้เพราะพลเมืองมากขึ้น และธุรกิจต่างๆ เติบโตขึ้น ความต้องการช่างไฟฟ้าเพื่อการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และการเดินสายไฟฟ้าในบ้าน ในสถานที่ทำงานและอาคารต่างๆ ย่อมสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โอกาสที่ช่างไฟฟ้าที่ชำนาญจะได้งานทำจนแก่เฒ่าหรือได้ตำแหน่งหน้าที่การงานจึงมีมากขึ้นเช่นกัน
          ในขณะที่คาดกันว่างานของช่างไฟฟ้าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในอนาคต ในแต่ละปีอาจเพิ่มขึ้นมากน้อยต่างกันได้ตามสภาวะของงานก่อสร้าง เมืองานก่อสร้างลดลง ช่างไฟฟ้าก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานไฟฟ้าด้านอื่นได้ เช่น ทำงานเป็นช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นช่างไฟฟ้าประจำโรงแรม บริษัท ร้านค้าใหญ่ๆ

     สภาพรายได้และการทำงาน อัตราค่าจ้างแรงงานของช่างไฟฟ้าในระยะเริ่มแรกอาจ ได้รับต่ำกว่าหรือสูงกว่ากันบ้างแล้ว แต่ฐานะ และสวัสดิการของโรงงานและบริษัท ถ้ามีความชำนาญมาก อัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพการทำงานนั้น โดยทั่วไปแล้วอัตราค่าจ้างช่างไฟฟ้าจะค่อนข้างสูงกว่าช่างอื่นๆ ในงานก่อสร้างด้วยกัน นอกจากนี้ฤดูการทำงานของงานก่อสร้างนั้นจะมีผลกระทบต่อช่างไฟฟ้าน้อยกว่าคนงานประเภทอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ช่างไฟฟ้าจึงมีชั่วโมงการทำงานและมีรายได้ที่สม่ำเสมอมากกว่า

      ในด้านการทำงาน บรรดานายจ้างจะจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ให้กับช่างไฟฟ้า ถึงอย่างนั้นช่างไฟฟ้าก็ยังนิยมปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องมือของตนเอง ในขณะปฏิบัติงานทางงานก่อสร้าง ช่างไฟฟ้าจะต้องยืนและปฏิบัติงานที่มุมแคบๆ เป็นเวลานาน และส่วนใหญ่เป็นงานในร่มคืออยู่ในอาคาร ฉะนั้นช่างไฟฟ้าจึงไม่ต้องผจญกับสภาพอากาศภายในนอกที่ต้องตากแดดรำฝนเหมือนคนงานอื่นๆ อย่างไรก็ตามช่างไฟฟ้าก็ต้องประสบกับการเสี่ยงภัยเช่นเดียวกับคนงานอื่นๆ เหมือนกัน เช่น ต้องเสี่ยงกับการพลัดตกจากบันไดจากนั่งร้าน และจากการถูวัตถุสิ่งของที่พลัดตกใส่ นอกจากนี้ยังต้องเสี่ยงกับการถูกไฟฟ้าช็อตอีกด้วย แต่เมื่อปฏิบัติงานด้วยความไม่ประมาทแล้วก็จะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บจากอันตรายที่เกิดขึ้นได้

คำศัพท์ทางไฟฟ้า
          ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องเข้าใจคำจำกัดความทั่วไปของคำศัพท์ที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้า เพื่อให้การสั่งวัสดุอุปกรณ์ และการอ่านรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สั่งและผู้อ่านจะต้องมีความคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้าด้วย ดังนั้นจึงควรอ่านคำจำกัดความแต่ละคำอย่างระเอียดให้เข้าใจ และควรพลิกดูคำเหล่านี้ทุกครั่งเมื่อมีความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของคำศัพท์เหล่านี้เพิ่มเติมในท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ด้วย
       พลังงาน (energy) : ความสามารถในการทำงาน
       กำลังม้า (horsepower) : หน่วยวัดการทำงานของเครื่องจักรกลพวกมอเตอร์และเครื่องยนต์ เราจะใช้อักษรย่อ HP หรือ hp แทน โดยทั่วไปกำลังม้านี้จะใช้บ่งบอกเอาท์พุทของมอเตอร์ไฟฟ้า
     ไฟฟ้า (electricity) : การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำไฟฟ้า
     ตัวนำไฟฟ้า (conductor) : สสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเองได้ง่าย
     ความนำไฟฟ้าหรือความเป็นสื่อไฟฟ้า (conductance) : ความสะดวกสบายต่อการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าในวงจร
     ฉนวนไฟฟ้า (insulator) : วัตถุที่มีคุณสมบัติด้านต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า อาจจะกล่าวได้ว่าสสารนั้น ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
     อำนาจแม่เหล็ก (magnetism) : คุณสมบัติอย่างหนึ่งของสสารที่แสดงอำนาจดึงดูดเหล็กได้
     ขั้วไฟฟ้า (polarity) : คุณสมบัติของประจุไฟฟ้าที่แสดงออกมา ซึ่งจะมีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบ
     แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnet) : ขดลวดตัวนำไฟฟ้าที่แสดงอำนาจหรือคุณสมบัติทางแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวดนั้น
     ขดปฐมภูมิ (primary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าและรับพลังงาน นั้นก็คือด้านรับไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
     ขดทุติยภูมิ (secondary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดอยู่กับโหลด (ภาระทางไฟฟ้า) โดยจะรับพลังงานด้วยหลักการเหนี่ยวนำทางอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสู่โหลดนั้นก็คือด้านจ่ายไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า      กำลังไฟฟ้า (electric power) : อัตราการผลิตหรือใช้พลังงานทางทาวงไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
    วัตต์ (watt) : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า เราเรียนอักรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ W แทน กำลังไฟฟ้ามีจะเป็นอักษรบอกพลังงานไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวในการทำงาน อย่างเช่น หลอดไฟ 1,000 วัตต์ เครื่องปิ้งขนมปัง 1,000 วัตต์
    กิโลวัตต์ (kilowatt) : หน่วยกำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 วัตต์ เราใช้ตัวย่อว่า KW เพราะเหตุว่าในทางปฏิบัตินั้นโหลด หรือภาระทางไฟฟ้ามีจำนวนมากๆ จึงมีค่าวัตต์สูงๆ หน่วยวัตต์ซึ่งทำให้การเรียกหรือบันทึกค่ายุ่งยากและเสียเวลา เราจึงนิยมใช้กิโลวัตต์ซึ่งเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นนี้แทน และยังมีหน่วยใหญ่กว่ากิโลวัตต์อีกก็คือ เมกกะวัตต์ (megawatt) ซึ่งเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ หรือเขียนย่อๆ ว่า 1 MW
    กิโลวัตต์ – ชั่วโมง (kilowatt – hour) : หน่วยวัดการใช้กำลังไฟฟ้าในเวลา 1 ชั่วโมง เราจำใช้อักษรย่อพิมพ์ตัวใหญ่ KWH แทน ปกติแล้วการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านจะวัดค่าออกจากเครื่องวัดพลังงาน (หรือที่เราเรียกกันว่า หม้อมิเตอร์) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ – ชั่วโมง หรือที่เรียกกันว่า ยูนิต (unit) แล้วคิดราคาไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายเท่ากับ จำนวนยูนิตที่เราต้องใช้คูณด้วยราคาไฟฟ้าต่อหนึ่งยูนิต
    ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current) : ระบบไฟฟ้าที่ทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนมีการสลับไปมาตลอดเวลา เราใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ AC และมักนิยมใช้เป็นระบบไฟฟ้าตามบ้าน อาคาร โรงงานทั่วๆ ไป
    ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) : ระบบไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนมีการวิ่งไปทางเดียวกันตลอดเวลา และต่อเนื่องกัน มักจะพบว่าใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป ก็คือ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์เป็นต้น ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ DC เป็นสัญลักษณ์แทน
    วงจรไฟฟ้า (circuit) : ทางเดินไฟฟ้าที่ต่อถึงกัน และไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
วงจรอนุกรมหรือวงจรอันดับ (series circuit) : วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าได้เพียงทางเดียว จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านวงจรไฟฟ้าไปครบวงจรอีกขั้วของแหล่งจ่ายไฟ และในวงจรนี้อาจจะมีอุปกรณ์พวกฟิวส์ สวิตซ์ เซอร์กิต – เบรกเกอร์ โดยต่อเป็นวงจรอันดับเข้าไปเพื่อป้องกัน และควบคุมวงจรดังรูป ที่ 1

 ที่มา: http://www.nsru.ac.th/e-learning/anuson/b1.htm

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruboy

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์