ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน

คนไทยต้องเตรียมพร้อมอย่างไรกับ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน

(คลิกดูคลิป ดร.นิติภูมิ แล้วอย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม)

   

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร

PDF Print E-mail

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

         อีกไม่นานแล้วที่ประเทศไทย จะก้าวเข้าเป็นหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอาเซียนและประเทศไทยอย่างน้อย 2 ประการ คือ
             1. อาเซียนกำลังจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
             2. กฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกของอาเซียนในรอบ 40 ปี นับแต่มีการจั้ดตั้งและเป็นครั้งแรกที่มีการให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ทั่วภูมิภาค

ทำไมต้องเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน = AEC

         ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น ยุโรปก็มี EU  อเมริกาเหนือก็มี NAFTA  แอฟริกาก็มี AU  ประชาคมเศรษฐกิจทุกภูมิภาคเกิดขึ้นแล้ว และ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของประชาคมเป็นไปอย่างเข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองสูง สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชนในประชาคมเศรษฐกิจนั้นๆ

              อาเซี่ยนซึ่งก่อนหน้านั้นรวมตัวกันหลวมๆ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังมีลักษณะต่างคนต่างทำ บางครั้งก็แข่งขันกันเอง ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี.......

              อาเซี่ยน จึงจะผนึกกำลังกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ในปี 2558 หลังจากนั้นจะเกิดพลังอันมหาศาล กล่าวคือ  มีพลังทางเศรษฐกิจสูงเพราะมีประชากรรวมกันราว 700 ล้านคน (1 ใน 10 ของโลก)  มี GDP รวมกันกว่า 30,000 หมื่นล้านล้านบาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่มาก 

เป้าหมายของ AEC

           อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มต้นในปี 2558 (AEC) และเต็มรูปแบบภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์กฎระเบียบเดียวกัน....อนาคตอาจถึงขั้นใช้เงินสกุลเดียว ดังเช่นในยุโรป เป็นต้น

คนไทยต้องเตรียมพร้อมอย่างไร

              การรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวในปี 2558 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมไทยจะต้องเตรียมพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อสร้างโอกาสต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ

              การรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวกันภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 ถือเป็นส่วนสำคัญที่ภาคธุรกิจไทย รวมถึงคนไทย ต้องปรับตัว เพราะจะเป็นการเปิดประตูตลาดการค้าระหว่างกัน โดยอาเซียนมีประชากรรวมกัน มากกว่า 700 ล้านคน โดยการรวมกลุ่มอาเซียนจะเป็นจุดเปลี่ยนทำให้เศรษฐกิจโลกมีอัตราการ ปรับตัวที่ดีขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจไทย

                 ไทยมีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าภายใน Inclusion List ทั้งหมดให้กับ ประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2553 ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีใด ๆ เพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and productionbase) และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น

   

ไทยได้ประโยชน์อะไรจาก AEC

                 หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ  ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร  สุขภาพ  การศึกษา  ฯลฯ  ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก และไทยดูจะมีความพร้อมมากที่สุด ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเอกชนของไทยที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่ามีคุณภาพในการรักษาพยาบาลสูง  สถาบันการศึกษาของไทยก็จะเป็นแหล่งให้นักศึกษาจากหลายๆ ประเทศเข้ามาเรียนในระดับ ปริญญาตรี - เอก  นี่ยังไม่รวมแหล่งท่องเที่ยวที่ไทยได้เปรียบกว่าทุกประเทศในย่านอาเซี่ยน   นอกจากนี้  ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูด การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน  ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก  และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม

จุดอ่อนของไทย คนไทยต้องเตรียมพร้อม

                 จุดอ่อนที่เด่นชัดที่สุดของคนไทย คือ ภาษาอังกฤษที่คนไทยเสียเปรียบคนสิงคโปร์ มาเลเซีย  ฟิลิปินส์  หรือ  แม้แต่ ลาว พม่า กัมพูชา  ภาษาอังกฤษคนไทยเราก็สื่อสารได้ไม่ดีพอ  ดังนั้น ก่อนที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนจะเกิดขึ้นจริงในปี 2558 คนไทยต้องขจัดจุดด้อยตั้งแต่ตอนนี้  เมื่อถึงเวลาที่ไทยก้าวเข้าเป็นหนึ่งในประชาคม  คนไทยเราจะได้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแหล่งที่พักต้อนรับนักท่องเที่ยว ทำร้านอาหาร ผลิตสินค้า หรือ ค้าขายอื่นๆ ก็ล้วนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งสิ้น

                     ส่วนคนไทยที่เก่ง และ เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ คุณเตรียมพร้อมรับความร่ำรวยได้เลย เพราะไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร คุณสามารถผลักดันธุรกิจของคุณให้เต็บโตได้ทั่วภูมิภาค  แม้แต่ธุรกิจเครือข่าย หรือ ขายตรง ที่ปัจจุบันทำกันเฉพาะในกลุ่มคนไทย  แต่คาดว่าในปี 2558 ธุรกิจเครือข่ายไทยหลายบริษัท จะเติบโตทั่วภูมิภาคอาเซี่ยน นั่นหมายถึง คุณกำลังขยายธุรกิจเครือข่ายกับคน 700 ล้านคน  โอกาสที่คุณจะมีรายได้มหาศาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

จุดแข็งของไทย คนไทยต้องรีบคว้าไว้ให้ได้

                      ไทยมีความโดดเด่นในด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ เป็นศูนย์กลางของประเทศต่างๆ ที่รวมกันเป็นประชาคม และ มีสิ่งอำนายความสะดวกมากมาย เช่น มีสนามบินขนาดใหญ่ที่สุด มีระบบการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ที่ทันสมัยที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วโลกนิยมมาเทียว มีสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติจำนวนมาก มีบริการโรงพยาบาลเอกชนที่ยอดเยี่ยม มีแหล่งชอปปิ้งที่พร้อมที่สุด มีอาหารที่อร่อยและหลากหลายมากที่สุด มีอิสระเสรีภาพในการเดินทาง และ การทำธุรกิจมากที่สุด  ที่สำคัญ คนไทยมีน้ำใจไมตรีกับคนทุกชาติ และ สำคัญที่สุด เงินสกุลบาทของไทยมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และ เวียตนามบางส่วน.....ความโดดเด่นของไทยดังกล่าว จะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ถ้าคนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างชำนาญ  ดังนั้น เพื่อช่วยกันสร้างให้ประเทศไทย เป็นผู้นำประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน  คนไทยต้องแสวงหาจุดเด่น และ ลบจุดด้อยให้เร็วที่สุด....จุดเด่นทราบอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง....จุดด้อยมีเพียงอย่างเดียว คือ การอ่อนภาษาอังกฤษ  (บางคนอาจบอกว่าจุดด้อยอีกอย่างของไทย ก็คือ การทะเลาะกันไม่เลิกของเสื้อเหลือง เสื้อแดง ก็จริงอย่างว่า แต่เชื่อเถอะ ถ้าเราไม่สนใจ ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพวกแดง พวกเหลือง  ไม่ช้าทั้งสองพวกก็จะหมดไปเอง)

 

ระบบการศึกษาไทย ต้องเตรียมพร้อมรับ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน คลิกดูคลิปข้างข่างนี้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruchi

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ