การประกวดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมข้อเสนอโครงการการประกวดรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดยี่ยม

                                      

1.ความเป็นมา

             ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เห็นชอบให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันเทคโนโลยีของไทย และมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และ วันเทคโนโลยีของไทย
เทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ทำให้การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิต และสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพสูง ทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก จึงเป็นการสร้างความแตกต่างโดยใช้องค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นเอง หรือจากการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น อาศัยการบริหารจัดการความรู้ทางด้าน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการที่คนไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองได้นั้น จะเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

 

             ดังจะเห็นได้ว่าบริษัทที่ได้รับรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรยอดเยี่ยมในปีที่ผ่านมาล้วนแต่เป็นบริษัทที่เริ่มดำเนินธุรกิจจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และยกระดับตนเองเข้าแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น จวบจนประสบความสำเร็จในตลาดโลกได้อย่างสง่างาม มีลูกค้ากระจายอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งยืนยันว่าบริษัทของคนไทย มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วได้ในทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ เครื่องจักรกลเพื่อการผลิต ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเครื่องจักรกลเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเสีย ขยะเหลือใช้ ที่ทุกประเทศล้วนประสบ และการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน โดยใช้เตาเผาที่มีการควบคุมอย่างดี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเป็นฝ่ายเลขานุการ จึงได้ริเริ่มรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยม (Technology Award) เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้กับบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของ พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเอง มีความโดดเด่น สามารถผลิตและใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ผลประโยชน์ทางอ้อม จะทำให้เกิดการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีโดยบริษัทไทย อันจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge base economic) 
รางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 3 สาขา ประกอบด้วย 1).สาขาเครื่องจักรกลการเกษตร (Agricultural machinery) 2).สาขาเครื่องจักรกลการผลิต (Production machinery) 3).สาขาเครื่องจักรกลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Environment machinery) และยังจัดให้มีรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม (Best of the Best Technology Award) ที่เป็นที่สุดของบริษัทซึ่งได้รับรางวัลของทั้ง 3 สาขาอีกด้วย

1.    วัตถุประสงค์
1.    เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงการนวัตกรรมซอฟแวร์ที่ใช้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีจำนวนซอฟแวร์ไม่ต่ำกว่า 100 โครงการ
2.    เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจซอฟแวร์ให้กับบริษัทของไทยที่เข้าร่วมโครงการ
3.    เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสามารถของผู้ประกอบการซอฟแวร์ไทยที่มีความสามารถทัดเทียมกับต่างชาติ โดยการนำซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 แห่งต่อ 1 ซอฟแวร์
4.    เพื่อพัฒนาระบบการขอรับการสนับสนุน พิจารณาข้อเสนอโครงการ และอนุมัติโครงการผ่านระบบเวบไซด์ มุ่งเป้าที่ใช้ระบบ IT มาบริหารจัดการทั้งระบบ

2.    ขอบเขตการดำเนินงาน

2.1    จัดการประกวดรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมประจำปี 2554 ครอบคลุมการดำเนินงานตั้งแต่การประชาสัมพันธ์การจัดการประกวด เชิญชวนเข้าร่วมการประกวด รับใบสมัคร รวมรวมข้อมูล ตัดสินการประกวดโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับ ประชาสัมพันธ์ผลการประกวด จัดงานแถลงข่าวผลการประกวด ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลการประกวด และร่วมจัดงานมอบรางวัลฯ
2.2    พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ที่ได้รับรางวัลในช่วงปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2549-2554 โดยเผยแพร่ทางเวบไซต์และจัดพิมพ์จุลสารจำนวน 500 เล่ม เพื่อแจกในวันมอบรางวัล
2.3    จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยจำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่
   2.3.1    การจัดงานพบปะระหว่างผู้บริหารกระทรวงฯ และผู้ที่ได้รับรางวัลที่ผ่านมา จำนวน 1 ครั้ง เพื่อเป็นการกระชับไมตรีและขอบคุณกระทรวงฯที่ให้การ สนับสนุนบริษัท และหารือประเด็นการสนับสนุนบริษัทให้ก้าวไกลไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก
   2.3.2    การจัดดูงานนักข่าวสายวิทยาศาสตร์และสายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง เพื่อยี่ยมชมบริษัทที่ได้รับรางวัลในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์การประกวดยังเป็นการประชาสัมพันธ์การจัดงานในปี 2554 อีกด้วย
   2.3.3    การจัดงานพบปะระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล จำนวน 1 ครั้ง ที่เคยร่วมงานกับกระทรวงฯ ทั้งที่เคยรับการสนับสนุนจากโครงการวิศวกรรมย้อยรอย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเครือข่ายคลีนิคเทคโนโลยี
2.4    บริหารจัดการโครงการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ โดยใช้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
2.5    ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการ เกี่ยวกับการสนับสนุนของกระทรวงฯ และการสร้างเครือข่ายในสายโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

3.    แนวทางการดำเนินงาน
3.1    รวบรวมข้อมูลการประกวดในช่วงที่ผ่านมา ระหว่างปี 2549-2553 จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นและแสดงผลได้  โดยเผยแพร่ทางเวบไซต์และจัดพิมพ์จุลสารจำนวน 500 เล่ม
3.2    ประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการแสวงหาโอกาสและพัฒนาการประกวดให้มีประสิทธิภาพ 
3.3    จัดเตรียมการสัมมนาและการประชุมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ
3.4    จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์  (road show) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ประกอบการไทย ต่อเครื่องจักรกลที่ผลิตโดยบริษัทไทย อันจะทำให้ลดการนำเข้าเครื่องจักรกลในอนาคต

4.    เกณฑ์การให้คะแนนจะพิจารณา
             การตัดสินรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมประจำปี 2554 กำหนดให้เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ดังตารางต่อไปนี้

 

by THECNOMART

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


CHA

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
เทคนิคพื้นฐาน