ประวัติศาสตร์เมืองวิเศษชัยชาญ

 

อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว

อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้วประดิษฐานอยู่บริเวณวัดวิเศษชัยชาญจังหวัดอ่างทองเป็นรูปนายดอกและนายทองแก้ว ในชุดยืนออกรบยืนเคียงคู่อยู่ด้วยกัน ที่ฐานอนุสาวรีย์มีจารึกข้อความว่า 'พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จมาเปิดอนุสาวรีย์วีรชนอ่างทองนี้ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช2520 ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ และประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์เพื่อประกาศเกียรติคุณของ 2 วีรบุรุษแขวงเมืงวิเศษชัยชาญมี่ได้สละชีวิตเป็นชาติพลี เพื่อกอบกู้ความเป็นไทยแก่ชาติ'

เมืองวิเศษไชยชาญ นี้สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นราว พ.ศ. 21222127 โดยในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงชื่อเมืองนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2127 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยาตราทัพขึ้นไปประชุมพลที่ป่าโมก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อรับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี และกล่าวถึงอีกตอนในสงครามคราวเดียวกัน เมื่อทัพกรุงศรีอยุธยาตีกองทัพพระยาพะสิมแตกพ่ายไปแล้ว ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปตั้งอยู่ที่บ้านชะไว แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อสกัดทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่จะยกลงมาจากทางเหนือ

ที่ตั้งของเมืองวิเศษไชยชาญในสมัยนั้นอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย มีโคกใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า 'บ้านจวน' ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมือง อยู่ใกล้วัดขุมทอง ตำบลไผ่จำศีลในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แม่น้ำน้อยตื้นเขินเป็นตอน ๆ การเดินทางทางเรือไม่สะดวก ทางราชการจึงย้ายมืองวิเศษไชยชาญไปตั้งที่ตำบลบางแก้ว ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทองในปัจจุบัน) พร้อมเปลี่ยนชื่อเรียกว่า 'เมืองอ่างทอง' ส่วนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอไผ่จำศีล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองอ่างทองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 โดยตั้งที่ว่าการอำเภอทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่จำศีล จนกระทั่งปี พ.ศ. 2451 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศีลเป็น อำเภอวิเศษชัยชาญ
     เมื่อปี พ.ศ. 2522 กรมการปกครอง ได้มีคำสั่งย้ายที่ว่าการอำเภอวิเศษชัยชาญไปตั้งอยู่ริมถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหลังปัจจุบัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


boonrot

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
สามัญสัมพันธ์