แผนการจัดการเรียนรู้ แผนที่1(4ช.ม) แผนที่2 (3ช.ม.)

แผนการจัดการเรียนรู้การดูแลสุขภาพตามวัยของตนเอง

 

หมวดวิชาสามัญ กลุ่มวิชาสุขศึกษา                                                   ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

แผนที่  1  การดูแลสุขภาพตามวัยของตนเอง                                                     ระยะเวลา 4 ชั่วโมง

 


                                     1.   จุดประสงค์การเรียนรู้

                                                   1.1       อธิบาย (Explain) ความหมายของ “สุขภาพ”                                                      1.2       สรุป (Summary) แนวความคิดหลักเรื่องสุขภาพ

                                                   1.3       ศึกษา (Study) มิติของชีวิต                                                                         1.4       ระบุ (Identify) ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ

                                                   1.5       ศึกษาโภชนาการเพื่อสุขภาพ                                                                         1.6       อธิบายการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

                                                   1.7       อธิบายการพักผ่อน                                                                                     1.8       ศึกษาการนันทนาการ

                                                   1.9       จำแนก (Distinguish) กระบวนการและวิธีการวางแผนดูแลส่งเสริมสุขภาพ                     1.10    ระบุสุขบัญญัติแห่งชาติ

                                                   1.11    จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ “การดูแลสุขภาพตามวัยของตนเอง”                                       1.12    สนทนาเชิงปฏิบัติการ “ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ”

                                                   1.13   อภิปราย (Discuss) “การเลือกกิจกรรมนันทนาการเป็นสิ่งที่ จำเป็น หรือ ไม่จำเป็น”           1.14   อธิบายคำศัพท์ได้ 14 คำ

 

                                     2.   แนวคิดและสาระการเรียนรู้

                                                   2.1       ความหมายของ “สุขภาพ” แนวความคิดหลักเรื่องสุขภาพ (Healthy Concept) มิติของชีวิต ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ โภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

                                                   2.2       การพักผ่อน การนันทนาการ การขับถ่าย กระบวนการและวิธีการวางแผนดูแลส่งเสริมสุขภาพ สุขบัญญัติแห่งชาติ

 

                                    3.     กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                                                   3.1     อธิบายการวางแผนการเรียน โครงสร้างเนื้อหาบทเรียน กิจกรรม  งาน ภารกิจ  (บทที่ 1-5)

                                                   3.2      สรุปบทเรียนส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

                                                   3.3      สรุปคำศัพท์ ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

                                                   3.4     แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

                                                   3.5     แบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ (ให้ความสำคัญการทำงานเป็นทีม)

                          วิธีการ : 

                                                 ให้นักศึกษานับหมายเลข  1, 2  นับ 1 มารวมกันเป็นกลุ่มที่ 1 นับ 2  กลุ่มที่ 2 เลือกผู้จัดการด้านสุขศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศ   ประชุมคณะทำงาน  แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ

                                   กลุ่มที่ 1 :   คัดเลือกคำศัพท์ บทที่  1-5  จำนวน  69 คำ  คำอ่าน-คำอธิบาย จัดบอร์ดโดยใช้หัวข้อว่า  “สนุกกับการดูแลตนเอง”  69  วัน  69 คำ                                                                                                            
                                                   ภาพประกอบคำศัพท์ให้สอดคล้องกับความหมายคำศัพท์แต่ละคำ โดยใช้ตัวการ์ตูน “Mr. Healthy”  (ออกแบบให้เปลี่ยนชุดได้)  เป็นผู้นำเสนอ

                                  กลุ่มที่ 2 :    นำคำศัพท์จากกลุ่มที่ 1 69 คำ ประสานงานกับอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ/ ชาวต่างประเทศ  อ่านออกเสียงคำศัพท์  บันทึกเทป/CD มาเปิดให้นักศึกษาฟังทุกครั้งในชั่วโมงการสอน
                                                  และอ่านออกเสียงตามอย่างถูกต้อง ใช้เวลาครั้งละ 10 นาที   ตลอดภาคเรียน และนำคำศัพท์จัดรายการวิทยุศึกษาของโรงเรียน/วิทยาลัย

                                  เลือกตัวแทนกลุ่มที่  1,  2 :  จำนวน 4  คน  ร่วมกับครูผู้สอนและคณะ  ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการและความปลอดภัยของเอกสาร/ภาพ การจัดบอร์ด  
                                                  การจัดรายการคำศัพท์เพื่อบูรณาการ ออกแบบเครื่องมือประเมินผลและประเมินผล สรุปจุดแข็ง จุดอ่อน แต่ละกลุ่มงานเป็นผู้บริหารเวลาและ       นำเสนอใช้เวลา  10  นาที ถือเป็นข้อยุติ

                                              นักศึกษาทุกคนเขียนรายงานตนเอง (Self - Report) หน้าที่ความรับผิดชอบ  ภารกิจ  ปัญหา อุปสรรค  วิธีการแก้ปัญหา  ข้อเสนอแนะ  ความยาว 5  บรรทัด  และนำเสนอคนละ  3  นาที

 

                                      4.  สื่อการสอน

                                                4.1   แผ่นใสสรุปบทเรียน/ชุดการสอน PowerPoint  6  สไลด์

                                                4.2    ภาพการดูแลสุขภาพ            ภาพวิธีการรักษาสุขภาพ           ภาพพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

                                                         ภาพสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี         ภาพตัวอย่างบริการทางสุขภาพ    ภาพปัจจัยพื้นฐานในการดูแลสุขภาพ

                                                         ภาพการบริโภคอาหารเพื่อรักษาสุขภาพ     ภาพสัดส่วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ   ภาพประเภทของการออกกำลังกาย

                                                         ภาพประโยชน์ของการพักผ่อน     ภาพการเลือกกิจกรรมนันทนาการ    ภาพกระบวนการดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัย
 
                                                         ภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของวัยรุ่น  ภาพหลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ   ภาพหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ

                                                4.3    หนังสือประกอบการเรียนวิชาครอบครัวศึกษาและความปลอดภัยในชีวิต

                                                4.4    บัตรคำศัพท์ บัตรคำ

                                                4.5    สไลด์  วิดีโอเทป  VCD CAI

 

                                  5.  การวัดผลและการประเมินผล

                                                 5.1      ความสนใจในการเรียนรู้ การค้นคว้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

                                                 5.2      การซักถามและการตอบคำถาม

                                                 5.3      แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

                                                 5.4      การทำงานเป็นทีม (ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นทีมงาน)

                                                 5.5      การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน การประเมินตนเอง

                                                  5.6      การเขียนรายงานตนเอง (Self-Report)

                                                  5.7      แฟ้มสะสมผลงาน

 

                                      6.  แหล่งการเรียนรู้

                                                   6.1       ห้องสมุดวิทยาลัย/โรงเรียน ศูนย์วิทยบริการ ห้องปฏิบัติการสุขศึกษา เทคโนโลยีและสารสนเทศ

                                                  6.2       ครอบครัวผู้เรียน  ครอบครัวบรรพบุรุษ  บุคลากรในท้องถิ่น  ภูมิปัญญาชาวบ้าน สถานประกอบการ  ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ

                                                  6.3       สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น นิตยสาร/วารสาร/หนังสือ/Brochure/Catalog/ Supplement/บทความ/รายงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวศึกษา สารานุกรม 

                                                  6.4       ครูผู้สอน, Internet, E-learning, E- books, Website

                                      7.  ผลงาน / ชิ้นงานของนักศึกษา

                                                 7.1      การจัดบอร์ด การนำเสนอ การเขียนรายงานตนเอง

                                                 7.2      สรุปคำศัพท์  ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

 

                                     8. ความสัมพันธ์กับวิชาอื่น/การบูรณาการ (Integrated)*        

                                                  วิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

                                    9.  บันทึกผลการจัดการเรียนรู้   (ข้อเสนอแนะ / ปัญหา /อื่นๆ)

 

 

 


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

แผนการจัดการเรียนรู้ปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับอิทธิพล 

จากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม 

 

หมวดวิชาสามัญ กลุ่มวิชาสุขศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

แผนที่ 2 ปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับอิทธิพล ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

จากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

 


                                    1. จุดประสงค์การเรียนรู้

                                             1.1  อธิบาย (Explain) ความหมาย “พฤติกรรมทางเพศ” “สิ่งแวดล้อม” และ “วัฒนธรรม”                          1.2   อธิบายความหมาย “ทัศนคติต่อเพศตรงข้าม”

                                             1.3  ระบุ (Identify) ความจำเป็นในการสอนเพศศึกษา                                                                 1.4   ศึกษา (Study) ผู้หญิงกับเพศศึกษา

                                             1.5  ยกตัวอย่าง (Enumerate) การปรับตัวของวัยรุ่น                                                                   1.6   ศึกษาพลังงานทางเพศ

                                             1.7  อธิบายวัฒนธรรมไทยกับการคบเพื่อนต่างเพศ                                                                       1.8   ศึกษาวัฒนธรรมการเลือกคู่ครอง

                                            1.9  ศึกษาสถาบันครอบครัว                                                                                                  1.10  ระบุความสำคัญในการสอนเพศศึกษา

                                            1.11  อธิบายความรักแท้                                                                                                     1.12  สรุป (Summary) ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว

                                            1.13  ศึกษาชีวิตครอบครัว                                                                                                    1.14  สรุปปัญหาความรุนแรงในสังคม

                                            1.15  จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ “ปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม”

                                            1.16  สนทนาเชิงปฏิบัติการ “ความจำเป็นในการสอนเพศศึกษา”

                                            1.17  อภิปราย (Discuss) “การเปลี่ยนรูปพลังงานทางเพศเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญ หรือ ไม่สำคัญ

                                           1.18   อธิบายคำศัพท์ได้ 10 คำ

                                   2. แนวคิดและสาระการเรียนรู้

                                          2.1  ความหมายของ “พฤติกรรมทางเพศ” “สิ่งแวดล้อม” และ “วัฒนธรรม” ทัศนคติต่อเพศตรงข้าม

                                         2.2  ความจำเป็นในการสอนเพศศึกษา ผู้หญิงกับเพศศึกษา การปรับตัวของวัยรุ่น พลังงานทางเพศ วัฒนธรรมไทยกับการคบเพื่อนต่างเพศ วัฒนธรรมการเลือกคู่ครอง

                                         2.3  สถาบันครอบครัว ความสำคัญในการสอนเพศศึกษา ความรักแท้ ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในสังคม

                                  3. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 
                                         3.1 สรุปบทเรียนส่วนที่เป็นสาระสำคัญ                              

                                         3.2 สรุปคำศัพท์ ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

                                         3.3 แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

                                        3.4 แบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ (ให้ความสำคัญการทำงานเป็นทีม)

                                วิธีการ : 
                                                     แบ่งกลุ่มเพื่อนสนิท 4 กลุ่ม จำนวนเท่า ๆ กัน เลือกหัวหน้าแผนกปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
                                         
                                           ระดับ 4 ประชุมคณะ ทำงาน  แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ จับฉลากเลือกกิจกรรมต่อไปนี้ จัดเตรียมสื่อ ภาพ อุปกรณ์ ตัวอย่างที่ช่วยสนับสนุน
                                 
                                           การนำเสนอให้เกิดความชัดเจนและครบสาระการเรียนรู้ บริหารเวลากลุ่มละ 20 นาที บริหารเอกสาร 2 หน้า นำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์/แผ่นใส

                                                               1. จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ “ปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม”

                                                               2. สนทนาเชิงปฏิบัติการ “ความจำเป็นในการสอนเพศศึกษา”

                                                               3. อภิปราย (Discuss) “การเปลี่ยนรูปพลังงานทางเพศเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญ หรือ ไม่สำคัญ

                                            จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ถาม – ตอบ “ตอนที่ 1, 2, 3”

                                  เลือกตัวแทนกลุ่ม : 

                                                       จำนวน 4 คน ร่วมกับครูผู้สอนและคณะ ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการและความปลอดภัยของเอกสาร/ภาพ ออกแบบเครื่องมือประเมินผลและประเมินผล 

                                              เขียนคำถามถามกลุ่มละ 2 ข้อ สรุปจุดแข็ง จุดอ่อน แต่ละกลุ่มงาน เป็นผู้บริหารเวลา และนำเสนอใช้เวลา 10 นาทีนักศึกษาทุกคนเขียนรายงานตนเอง (Self - Report)

                                              หน้าที่ความรับผิดชอบ ภารกิจ ปัญหา อุปสรรค วิธีการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะ ความยาว 5 บรรทัด และเลือกตัวแทนกลุ่มงาน 4 คน นำเสนอคนละ 3 นาที

 

                                 4. สื่อการสอน

                                              4.1 แผ่นใสสรุปบทเรียน/ชุดการสอน PowerPoint 8 สไลด์

                                              4.2 ภาพความหมายของ “พฤติกรรมทางเพศ”  ภาพความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ   ภาพความจำเป็นในการสอนเพศศึกษา  ภาพการปรับตัวของวัยรุ่น

                                                   ภาพการแสดงออกพลังงานทางเพศที่ถูกต้อง ภาพการเลือกคู่ครองและสถาบันครอบครัว ภาพตัวอย่างปัญหาความรุนแรงในสังคม

                                                   ภาพ
การป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง  ภาพการปรับตัวของวัยรุ่น

                                             4.3 หนังสือประกอบการเรียนวิชาครอบครัวศึกษาและความปลอดภัยในชีวิต

                                            4.4 บัตรคำศัพท์ บัตรคำ

                                            4.5 สไลด์ วิดีโอเทป VCD, CAI

 

                              5. การวัดผลและการประเมินผล

                                           5.1 ความสนใจในการเรียนรู้ การค้นคว้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

                                          5.2 การซักถามและการตอบคำถาม

                                          5.3 แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

                                           5.4 การทำงานเป็นทีม (ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นทีมงาน)

                                           5.5 การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน การประเมินตนเอง

                                           5.6 การเขียนรายงานตนเอง (Self-Report)

                                           5.7 แฟ้มสะสมผลงาน

                                 6. แหล่งการเรียนรู้

                                         6.1 ห้องสมุดวิทยาลัย/โรงเรียน ศูนย์วิทยบริการ ห้องปฏิบัติการสุขศึกษา เทคโนโลยีและสารสนเทศ

                                         6.2 ครอบครัวผู้เรียน ครอบครัวบรรพบุรุษ บุคลากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน สถานประกอบการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ

                                         6.3 สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น นิตยสาร/วารสาร/หนังสือ/Brochure/Catalog/ Supplement/บทความ/รายงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวศึกษา สารานุกรม

                                         6.4 ครูผู้สอน, Internet, E-learning, E- books, Website

                                7. ผลงาน / ชิ้นงานของนักศึกษา

                                        7.1 การจัดบอร์ด การนำเสนอ การเขียนรายงานตนเอง

                                        7.2 สรุปคำศัพท์ ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

                               8. ความสัมพันธ์กับวิชาอื่น/การบูรณาการ (Integrated) 

                                        วิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 

                              9. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ (ข้อเสนอแนะ / ปัญหา / อื่น ๆ)

 

 



------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------