ใบความรู้ (การพัฒนาการมนุย์)

ใบความรู้ที่ 1

เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์

                     
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญงอกงาม ทั้งในโครงสร้าง  และแบบแผน ของอินทรีย์ทุกส่วน มนุษย์ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนของพัฒนาการตลอดชีวิต ดังนั้นเรื่องพัฒนาการจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา
องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ
1. พันธุกรรม                2. วุฒิภาวะ
3. การเรียนรู้                4. สิ่งแวดล้อม
1. พันธุกรรม คือ ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่าง ๆ จากพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัวมีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย
             อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น
2. วุฒิภาวะ เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคคล เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะกระทำได้
3. การเรียนรู้ เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์และการฝึกหัด พื้นฐานสำคัญ เรื่องการเรียนรู้ กับเรื่องความพร้อม คือ 
     3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ไม่ควร 'การเร่ง' เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น 
     3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น คือ ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อม ได้โดยตรง
4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคล สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัย
2. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ
     2.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - เพศ     2.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - สังคม
3. พัฒนาการทางด้านสังคม จริยธรรม
4. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญาหรือ ความคิด

พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์นั้นโดยทั่วไปมี 5 ช่วงคือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชราดังจะอธิบายเรื่องแรกคือกระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์

กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์
ระยะไข่ ( Ovum )
ไข่ที่มีการปฎิสนธิเป็นขั้นแรก โดยมีมดลูก เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มดลูกติดต่อกับท่อนำไข่  จะแตกออก ทำให้เซลล์ไข่หลุดออกมา และเซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่จะเข้าไปในปีกมดลูก เมื่อเซลล์ไข่นี้ได้รับการผสมกับอสุจิที่ท่อนำไข่ ก็จะได้ไซโกด (Zygote) ซึ่งจะพัฒนาเป็น เอ็มบริโอ (embryo) ต่อไปเอ็นบริโอ และหยุดสร้างฮอร์โมนทำให้เกิดสลายตัวของ เนื้อเยื่อเอนโดมีเทรียม  ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วขับออกมาจากมดลูกเป็นผลให้มีรอบประจำเดือนใหม่

ระยะตัวอ่อน ( Embryo )
ระยะ 2 สัปดาห์ ระยะนี้จะเกิดเวลา 6 สัปดาห์ และสิ้นสุดเมื่ออายุได้ 2 เดือน ระยะนี้เซลล์เริ่มแบ่งแยก  และแจกแจงหน้าที่ไปตามตำแหน่งที่เซลล์ พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา
1. ชั้นใน  เจริญเติบโตต่อไปเป็นอวัยวะย่อยอาหาร คือ กระเพาะ ลำไส ปอด หัวใจ เป็นต้น
2. ชั้นกลาง  ชั้นนี้จะเจริญเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เลือด เส้นเลือด
3. ชั้นนอกสุด  ชั้นนี้จะเจริญเป็นผิวหนัง อวัยวะรับสัมผัส และระบบประสาท
                ทารกย่างเข้าสู่เดือนที่ 3 ถึงคลอด เราเรียกระยะนี้ว่า Fetus ทารกในครรภ์จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน จึงจะคลอดออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกภายนอก


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ใบความรู้

เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย

วัยทารก

พัฒนาการด้านร่างกาย

ในระยะแรกคลอดทารกจะมีน้ำหนักตัวลดลง แต่เมื่อปรับตัวได้ดีขึ้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจาก 6 เดือนไปแล้วอัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะลดลง ความสูงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวของทารกในระยะแรกคลอด ทารกจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ การเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การดูด การกางนิ้วเท้าเมื่อถูกลูบเท้าเบาๆ

พัฒนาการทางอารมณ์
ในระยะแรกคลอดทารกจะมีอาการตื่นเต้น ไม่แจ่มใสและชื่นบานสลับกันไป ซึ่งแยกได้ลำบาก ต่อมาอารมณ์จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามวุฒิภาวะและการเรียนรู้อาการที่แสดงออกทางอารมณ์ของทารกวัยนี้ ทำให้เห็นได้ว่าทารกวัยนี้อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉาริษยา อยากรู้อยากเห็น ดีใจ และรัก เช่น การส่งเสียงร้องเมื่อไม่พอใจ การถอยหนีหรือการร้องเมื่อเห็นคนแปลกหน้า การเรียกร้องความสนใจเมื่อผู้ใหญ่ให้ความสนใจน้องที่เกิดใหม่หรือคนอื่นๆ มากกว่าตนเอง การรื้อค้นสิ่งของต่างๆการหัวเราะโอบกอดพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคยเป็นต้น

พัฒนาการทางสังคม
หลังจากที่ทารกคลอดได้ 2-3 สัปดาห์ จะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นหู เช่น เสียงของแม่หรือคนเลี้ยง พออายุได้ 6 เดือน ทารกจะเริ่มแยกคนที่คุ้นเคยกับคนที่แปลกหน้าได้ การได้รับการเลี้ยงดูที่อบอุ่น ค่อยเป็นค่อยไปและได้รับความสนุกสนานไปด้วยจะทำให้มีปฏิกิริยาที่ดีกับคนแปลกหน้า

พัฒนาการทางสติปัญญา
พัฒนาการทางสติปัญญาของทารกมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของประสาทสัมผัสกับการรับรู้และการเคลื่อนไหว เพราะกลไกเหล่านี้ทำให้ทารกสามารถรับรู้รู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ความสมบูรณ์ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ทำให้ทารกสามารถเปล่งเสียงได้ถูกต้องและนำไปสู่การพัฒนาการทางการพูด การจดจำและรู้ความหมายของคำต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

วัยเด็ก
วัยเด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมที่กว้างขึ้น จึงจำเป็นต้องให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ วัยเด็กจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ วัยเด็กตอนต้นหรือวัยก่อนเข้าเรียน และวัยเข้าเรียน

1.1 พัฒนาการทางร่างกาย
วัยนี้อัตราการเจริญเติบโตลดลงอย่างเห็นได้ชัด สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนจากลักษณะของทารกอย่างเห็นได้ชัด ส่วนแขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว ไหล่กว้าง มือและเท้าใหญ่ขึ้น โครงกระดูกแข็งขึ้น กล้ามเนื้อเติบโตและแข็งแรงขึ้น ในตอนปลายในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น เช่น รู้จักกินข้าว แต่งตัว ใส่รองเท้าและอาบน้ำ

1.2 พัฒนาการทางอารมณ
เด็กวัยนี้มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดโมโหง่าย โมโหร้ายอย่างไม่มีเหตุผล มักขัดขืนและดื้อรั้นต่อพ่อแม่อยู่เสมอ เมื่อเด็กได้คบค้าสมาคมกับเพื่อนๆ อาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไป เด็กวัยนี้มักแสดงอาการโกรธด้วยการร้องไห้ ทุบตีสิ่งกีดขวาง ทิ้งตัวลงนอน ถ้ารู้สึกตัวก็จะวิ่งหนี หลบซ่อนตัว เด็กบางคนที่มีน้องใหม่อาจอิจฉาน้องก็จะแสดงออกคล้ายๆ กับเวลาเด็กโกรธหรืออาจมีพฤติกรรมถอยกลับไปเหมือนตอนยังเล็กอยู่ เช่น ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น

1.3 พัฒนาการด้านสังคม
เด็กวัยนี้เริ่มรู้จักคบเพื่อนและเล่นกับเพื่อนได้ดีขึ้น เด็กเริ่มรู้จักกากรปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ซึ่งจะแสดงออกโดยการให้ความร่วมมือ การยอมรับฟัง การแสดงความเป็นผู้นำ เด็กจะเริ่มรู้จักการแข่งขัเมื่ออายุประมาณ 4-5 ปี เป็นต้นไป โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เด็กที่มีพี่น้องหลายคนมักจะทะเลาะเบาะแว้งกัน สาเหตุมักมาจาการแย่งของเล่นและลักษณะดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเมื่อเด็กเติบโต

1.4 พัฒนาการทางสติปัญญา
ในวัยนี้เด็กจะรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากและเข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นได้ดี เด็กจะแสดงความฉลาดของตนเองออกมาโดยการพูดโต้ตอบกับผู้ใกล้ชิด ซึ่งเรื่องที่พูดก็มักจะเป็นเรื่องของตนเองและคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับตน เด็กวัยนี้จะมีความจำดีและในช่วงปลายวัยถ้าได้รับการฝึกหัดให้อ่านและเขียนหนังสือ เด็กก็สามารถจะทำได้ดีด้วย