คู่มือการเรียนวิชาโครงการ 3101-6001

 

 

เอกสารประกอบการเรียน

วิชา  โครงการ (Project)

รหัสวิชา  3204-6001

 

 

 

 

โดย

อาจารย์ประยุทธ ภาคบัว

 

 

 

 

 

วิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

สาขาวิชาแผนกช่างยนต์

โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา


คำนำ

 

            โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา  ภาควิชาเครื่องกล  สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ ได้จัดทำคู่มือการทำโครงการฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่นักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ รหัสวิชา 3204-6001 ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและจัดพิมพ์เอกสารประกอบโครงการ ให้มีมาตรฐานที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับการพิมพ์เอกสารทางวิชาการ

            ทางสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการทำโครงการฉบับนี้ จะมีประโยชน์แก่นักศึกษาในการพิมพ์เอกสารประกอบการทำโครงการ หรือแม้กระทั้งการทำรายงานสำหรับนักศึกษาอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนต่อไป

           

สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์

โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา


บทที่  1

 

บทนำ

 

1.1 หลักสูตรและการเรียนการสอน

 

            วิชาโครงการ รหัสวิชา 3204-6001 นั้น เป็นวิชาเอกบังคับของสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2546 ผู้ลงทะเบียนในวิชานี้นั้นจะต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตร โดยต้องผ่านวิชาที่เรียนในปี 1 โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้นั้นจะต้องปฏิบัติตามเนื้อหาของหลักสูตรดังนี้คือ

            นักศึกษาจะต้องทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับสาขางานช่างยนต์นักศึกษาจะทำงานเป็นกลุ่มเพื่อจะได้มีประสบการณ์จริงในการพัฒนาระบบและการจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาระบบงาน  รวมทั้งการพิจารณาพฤติกรรมในการพัฒนาระบบโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ต้องมีเอกสารประกอบเรียบร้อย

            สำหรับการทำโครงการนี้ จะมีการนัดหมายในแต่ละสัปดาห์โดยนักศึกษาต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจความคืบหน้าและซักถามปัญหาต่าง  ๆ ในการทำโครงการ  การเก็บคะแนนแต่ละครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและสำหรับรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนนั้นจะได้กล่าวต่อไป สำหรับแผนการสอนของวิชาโครงการนั้นจะแสดงให้เห็นในหน้าถัดไป

            ผลงานของนักศึกษาถือเป็นลิขสิทธ์ของสาขาวิชาช่างยนต์ โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา

 


แผนการสอน

 

 

วิชา  โครงการ   3 (0-4)

 

หลักสูตร

 

            นักเรียนจะต้องทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับบางส่วนหรือทุกส่วนของงานด้านช่างยนต์หรือเครื่องกล นักเรียนจะทำงานเป็นกลุ่มเพื่อจะได้มีประสบการณ์จริงในโครงการเหล่านั้น รวมทั้งการพิจารณาพฤติกรรมในการพัฒนาระบบและการจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาระบบงาน

 

การวัดผล

 

            1.  ความสม่ำเสมอในการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาการส่งงาน 10        คะแนน

                 ตามกำหนดการตรงต่อเวลาและแต่งการเรียบร้อย

2.  เอกสารบทที่ 1 – 5 บทละ 10 คะแนน                                       30        คะแนน

3.  การนำเสนอผลงาน                                                                60        คะแนน

            รวม                                                                               100      คะแนน

 

การแต่งกายของนักศึกษา

 

            นักศึกษาจะต้องแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา ทั้งในการเข้าฟังคำชี้แจงการนัดหมายของอาจารย์ประจำวิชา การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาและในการสอบทุกครั้ง

 


1.  สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนการทำโครงการ

  1. การจับกลุ่ม กำหนดกลุ่มละ 3 คนเท่านั้น
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงาน
  3. โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำโครงการและเอกสาร
  4. Flash Drive
  5. การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ
  6. การตรงต่อเวลาในงานแต่ละครั้งที่นัดตรวจสอบ
  7. ความสมบูรณ์ของเอกสาร ความถูกต้อง
  8. การบันทึกงาน ควรบันทึกเป็น บท  ๆ แยกออกจากกัน

2.  ขั้นตอนการขออนุมัติทำโครงการ

            นักศึกษาจะทำการขออนุมัติทำโครงการนั้นจะต้องหาหัวข้อโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านช่างยนต์หรือเครื่องกล กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนเท่านั้น

            ขั้นตอนนี้นักศึกษาต้องส่งใบขอเสนออนุมัติโครงการ  และเอกสารบทที่ 1 ประกอบการเสนอหัวข้อ และทำการเสนอต่อคณะกรรมการโดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณารายละเอียดของเนื้อหาและเอกสารก่อนการนำเสนอหัวข้อโครงการต่อคณะกรรมการโดยครั้งแรกจะเป็นการเสนอเนื้อหาในบทที่ 1 ของเอกสารที่นักศึกษาจะต้องจัดทำขึ้นโดยเนื้อหาในบทที่ 1 ประกอบด้วย

1.1    ภูมิหลังและความเป็นมา

ภูมิหลังหรือหลักการและเหตุผลเป็นการกล่าวถึงความเป็นมาของระบบ ลักษณะที่เป็นอยู่เดิมเป็นอย่างไรหรือสิ่งที่จะทำนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ความสนใจหรือเหตุผลว่าทำไมถึงสนใจในการทำโครงการในหัวข้อนี้ควรเขียนแบ่งเป็นย่อหน้า โดยแต่ละประเด็นอาจกล่าวถึง

-          ย่อหน้าแรกภูมิหลังของโครงการนั้น เช่น การทำงานของระบบเดิมที่ได้เคยทำมาหรือทฤษฎีของเรื่องที่จะทำโครงการ

-          ย่อหน้าที่สองการดำเนินงานของระบบงานเดิมหรือเรื่องที่ศึกษาว่ามีการดำเนินงานในปัจจุบันเป็นอย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบเดิมหรือต้องการที่จะพัฒนาในส่วนใด

-          ย่อหน้าสุดท้ายควรสรุปว่าจะพัฒนาระบบเพื่อ อะไร

 

1.2    วัตถุประสงค์โครงการ

เขียนวัตถุประสงค์โครงการเป็นข้อย่อย  โดยปกติวัตถุประสงค์โครงการควรจะประมาณ 4-5 ข้อ และ แต่ละข้อควรสั้น กะทัดรัด ได้ใจความวัตถุประสงค์ หรือ การทำให้บรรลุถึงชื่อของโครงการนั้น ๆ

 

1.3    ขอบเขตการศึกษา

เป็นการกล่าวถึงขอบเขตของการทำโครงการนี้ว่าจะจัดทำในส่วนใด ครอบคลุมเนื้อหาหรือสิ่งที่ต้องการทำแค่ไหน ซึ่งในบางครั้งชื่อโครงการอาจจะเป็นหัวข้อที่กว้างไป ไม่สามารถทำได้ทุกกรณี การบอกขอบเขตจะทำให้งานที่จัดทำถูกกำหนดขอบเขตชัดเจนและแคบลง

การเขียนถึงขอบเขตอาจบอกถึงรายละเอียดนี้ควรกล่าวถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำ เช่น  ประสิทธิภาพเท่าใด  เป็นต้น ใช้วิธีการใดในการพัฒนาและจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ หรือไม่

 

1.4    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ให้กล่าวถึงผลที่จะได้รับของโครงการเมื่อทำสำเร็จว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับโดยส่วนมากจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยผลที่คาดว่าจะได้รับข้อแรก หรือการบรรลุถึงชื่อของโครงการนั้น ๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับและวัตถุประสงค์แต่ละข้อเป็นตัวชี้ใช้วัดผลการสอบโครงการว่าผ่านหรือไม่ผ่าน

 

1.5    แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart)

ให้แบ่งการดำเนินงานในการทำงานโครงการเป็นส่วนต่าง  ๆ ซึ่งรายละเอียดในเรื่องของหน่วยเวลาและขั้นตอนต่าง ๆ นั้นให้นักเรียนปรับปรุงให้เหมาะสมกับการทำโครงการของตนเอง ในส่วนนี้ตารางเวลาการดำเนินงานยังเป็นแค่การวางแผน (Planning) เท่านั้น


 

1.6    งบประมาณการดำเนินงาน

นักศึกษาต้องมีการวางงบประมาณในการดำเนินงานจะต้องมีหัวข้อเพื่อจัดงบประมาณสนับสนุนการทำโครงการ การเขียนงบประมาณนั้นให้แบ่งเป็น 2 หัวข้อ

  1. อุปกรณ์ที่ไม่ต้องจัดซื้อ
  2. อุปกรณ์ที่ต้องจัดซื้อ

        ทั้ง 2 ข้อให้ระบุเป็นรายงาน ๆ ไปและแต่ละรายการจะมีค่าใช้จ่ายหรือราคาเท่าใดและให้รวมย่อยทั้ง 2 ข้อ และคำนวณยอดรวมทั้งหมดอีกครั้ง

 

3.  การรายงานความคืบหน้าของโครงการ

            ให้นักศึกษารายงานความคืบหน้าของโครงการ ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ทุกระยะและนักศึกษาต้องรายงานผลการทำงานที่ผ่านมาว่านักศึกษาได้บรรลุถึงผลการทำงานตามที่วางแผนไว้หรือไม่ โดยเสนอเป็นเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ทุก ๆ 1 สัปดาห์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนามทุกครั้ง เพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการสอบโครงการ

 

4.  การทำโครงการ

            เมื่อนักศึกษาได้เสนอหัวข้อโครงการต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้ควบคุมโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาต้องทำการศึกษาเบื้องต้นในระบบที่ต้องการทำโครงการ พร้อมทั้งวิเคราะห์และออกแบบระบบงานเบื้องต้น โดยอาศัยความรู้ที่ได้ศึกษาจากวิชาที่ได้ศึกษาไปทั้งหมด

           

5.  การทำเอกสาร

            นักศึกษาจะต้องทำเอกสารให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการช่วยตรวจทานเอกสารด้วย สำหรับเนื้อหาของเอกสาร นักศึกษาสามารถปรับแต่งแต่ละบทหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของลักษณะของโครงการที่ได้ทำ การเขียนเอกสารทุกครั้งควรแบ่งเขียนเป็นย่อหน้าในแต่ละประเด็นของงาน หรือเนื้อหาที่ต้องการบรรยาย และควรจะมีเนื้อหาและเรียงลำดับดังนี้

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบของโครงการฉบับสมบูรณ์

(ข้อมูลในโครงการฉบับสมบูรณ์ต้องนำใส่แผ่นCDและนำส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการพร้อมเล่มโครงการในวันส่งโครงการ)

  1. ปกโครงการประกอบด้วย

            ปกนอก ปกแข็งเดินทองตรงสันพื้นสีน้ำเงิน ให้มีชื่อเรื่องและปีการศึกษา นักศึกษายังไม่ต้องทำปกนอกจนกว่าจะทำโครงการเสร็จสมบูรณ์

            ปกใน พิมพ์บนกระดาษขาว A4 ข้อความเหมือนปกนอก

  1. หน้าอนุมัติ
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. คำนำ
  5. สารบัญ (ในข้อ 2 -8 ใช้อักษร ก-ฮ ตั้งแต่ข้อ 9 จนจบเอกสารใช้ตัวเลขอารบิค เรียงตามลำดับเริ่มจาก 1)
  6. สารบัญรูป
  7. สารบัญตาราง
  8. บทที่ 1 บทนำ  ประกอบด้วย

1.1    ภูมิหลังและความเป็นมา

1.2    วัตถุประสงค์โครงการ

1.3    ขอบเขตการศึกษา

1.4    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.5    แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart)

1.6    เครื่องมือ

1.7    งบประมาณการดำเนินงาน

10.  บทที่ 2  ระบบ................และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.1    ระบบงานในปัจจุบัน

2.2    ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน

2.3    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

11.  บทที่ 3 การออกแบบระบบหรือตัวเครื่องจักรและอุปกรณ์

12.  บทที่ 4 การพัฒนาระบบ....

4.1    เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้

4.2    การผลิตหรือติดตั้งเครื่องจักรหรืออุปกรณ์

4.3    วิธีการใช้งาน (อธิบายพร้อมแสดงรูป)

 

13.  บทที่ 5  สรุปผลการทำโครงการ

5.1    สรุปผลโครงการ

5.2    ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

5.3    สรุปเวลาการทำงานจริง (Gantt Chart)

5.4    สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจริง

14.  ภาคผนวก

-          ใบเสนอขออนุมัติการทำโครงการ

-          รายงานความคืบหน้าโครงการ

-          ใบบันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

15.  บรรณานุกรม

16.  ประวัติผู้จัดทำโครงการ

6.  การนำเสนอและส่งงานโครงการ

1. การขอเสนออนุมัติโครงการ

            นักศึกษาจะต้องยื่นใบขออนุมัติทำโครงการที่สาขาวิชาช่างยนต์ ภายในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนการศึกษาที่ 2 เพื่อเสนอโครงการ ที่นักศึกษาจะต้องการจะพัฒนาจะต้องมีเอกสารประกอบการยื่นขอเสนออนุมัติหัวข้อทำโครงการดังนี้

1.1  ใบเสนอขออนุมัติการทำโครงการ จำนวน 1 ชุด

1.2  เอกสารประกอบโครงการ บทที่ 1

            หลังจากที่นักศึกษายื่นเอกสารดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการพิจารณาหัวข้อโครงการ จะทำให้การพิจารณาลงมติในการอนุมัติทำโครงการเฉพาะบุคคล แล้วประกาศให้นักศึกษาทราบ

            นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติทำโครงการ ตามที่เสนอหัวข้อโครงการมาแล้วให้ดำเนินการจัดทำระบบโครงการดังกล่าวตามเงื่อนไขที่อนุมัติได้เลย โดยดูตามเอกสารคู่มือจัดทำโครงการ

            กรณีที่นักศึกษาไม่ได้รับการอนุมัติการทำโครงการ นักศึกษาจะต้องทำการเสนอโครงการใหม่อีกครั้งภายในสัปดาห์ถัดไปทันที

2.  ขอสอบโครงการ

            เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติการทำโครงการแล้ว ได้ดำเนินการในการจัดทำพัฒนาระบบแล้วนักศึกษาจะต้องยื่นใบขอสอบหัวข้อโครงการภายในระยะเวลาที่ทางสาขาวิชาช่างยนต์กำหนด (ประมาณช่วงสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ) และถือเป็นคะแนน โดยมีเอกสารประกอบการยื่นขอสอบหัวข้อโครงการดังนี้

-   ใบขอสอบหัวข้อโครงการ จำนวน 1 ชุด

-   เอกสารประกอบโครงการ (บทที่ 1-3) จำนวน 1 ชุด โดยนักศึกษาจะต้องยื่นเอกสารดังกล่าวก่อนวัน และเวลาสอบหัวข้อ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ในวันสอบหัวข้อโครงการ นักศึกษาจะต้องมีการเตรียมข้อมูลการนำเสนอให้พร้อม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาบทที่ 1-3 โดยทำใส่โปรแกรม Microsoft PowerPoint และทำความเข้าใจในระบบมาเป็นอย่างดีทั้งระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ระบบที่นักศึกษาออกแบบและพัฒนาขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งแนวทางที่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคต มาเป็นอย่างดี

วิธีการนำเสนอ

การนำเสนอและส่งผลงานจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม โดยทางสาขาช่างยนต์ จะเป็นฝ่ายนัดหมายและประกาศวันและเวลา สถานที่ที่แน่นอนให้ทราบอีกครั้ง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และอาจารย์คณะกรรมการ จะเข้าฟังการนำเสนอผลงาน เพื่อพิจารณาผลงานร่วมกัน ทุกกลุ่มจะต้องเตรียมตัวในการนำเสนออย่างครบถ้วน  รวมถึงเอกสารการทำโครงการชุดสมบูรณ์จำนวน 1 ชุด และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะนำเสนอให้พร้อม โดยส่งก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนสอบ

ข้อควรจำ นักศึกษาจะต้องมารายงานตัวก่อนเวลาสอบอย่างน้อย 30 นาทีก่อนสอบ ถ้าไม่มารายงานตัวตามระยะเวลาที่กำหนดถือว่านักศึกษาขาดสอบ

ในการนำเสนอ นักศึกษามีเวลาบรรยายพร้อมกับนำเสนอผลงานประมาณ 20 นาที ซึ่งการนำเสนอใช้เวลาโดยควรจะครอบคลุมประเด็นหลัก ๆ ในการทำงานของระบบงานที่ได้เขียนไว้ในเอกสารประกอบแต่ละบท การใช้งานของโปรแกรมที่ได้จัดทำมา หลังจากนั้นจะเป็นการซักถามประมาณ 10 นาทีจากคณะกรรมการ โดยการซักถามจะถามเกี่ยวกับตัวโปรแกรมที่ได้จัดทำรวมไปถึงพื้นฐานในแต่ละวิชาที่นักศึกษาได้เรียนรู้ตามหลักสูตร

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการนำเสนอข้อมูล

  1. การเตรียมอุปกรณ์ในการนำเสนอไม่พร้อม
  2. ไม่มีการเตรียมตัวและเตรียมข้อมูลในการทดสอบให้เรียบร้อย
  3. ขาดทักษะในการอธิบายและการนำเสนอ
  4. ขาดการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และอาจารย์ผู้ควบคุม
  5. การทำเอกสารผิดรูปแบบและไม่ละเอียดรอบคอบ
  6. ขาดการแบ่งหน้าที่ในการทำงานให้ชัดเจน รวมไปถึงความให้ความร่วมมือในการทำโครงการ
  7. ขาดทักษะในการเขียนบทความและไม่มีบทบรรยายหรือคำอธิบายของรูป
  8. หน้าที่ทุกอย่างเป็นของนักศึกษา ไม่ใช่ อาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ผู้ควบคุม ดังนั้นขอให้นักศึกษาต้องเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและอ่านตำราต่าง ๆ อย่างจริงจังด้วยตนเอง

ดังนั้น จึงขอให้นักศึกษาได้พิจารณาถึงสิ่งต่าง  ๆ ที่ได้กล่าวมา ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษา หลังจากนั้นถ้าการนำเสนอเสร็จสิ้น และโครงการอยู่ในข่ายที่พิจารณาแล้วว่าประเมินผลได้ว่าผ่าน แต่ยังมีข้อบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขใก้ถูกต้องก่อนที่จะอนุมัติและประเมินผลการศึกษาได้ ทั้งที่ จะต้องทำให้เสร็จสิ้นตามข้อกำหนดในการวัดและประเมินผลการศึกษา

7.  คำอธิบายอื่น ๆ

          7.1  บทคัดย่อ

            บทคัดย่อ คือ ข้อมูลความสรุปเนื้อหาของโครงการให้สั้นกะทัดรัดชัดเจนทำให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของโครงการอย่างรวดเร็ว โดยให้พิมพ์บทคัดย่อในกระดาษ A4 เพียง 1 หน้าเต็ม และควรมี 3 ย่อหน้า โดยแต่ละย่อหน้าควรกล่าวถึง

-          วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายและขอบเขตการทำโครงการ

-          วิธีการพัฒนารวมถึงเครื่องมือและลักษณะของงานที่ศึกษา

-          ผลการทำโครงการว่าได้รับระบบอะไรขนาดเท่าใดเหมาะสมที่จะใช้งานในลักษณะใดประโยชน์ที่ได้รับ

บทคัดย่อที่ดี ควรมี

-          ความถูกต้อง โดยระบุจุดประสงค์และเนื้อหาของเรื่องตามที่ปรากฏราชบัณฑิตสถานเป็นแนวทางในการสะกดคำ

-          ความสมบูรณ์ เช่นคำย่อ คำที่ไม่คุ้นเคยให้เขียนเต็มเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกไม่จำเป็นต้องอ้างเอกสาร ยกตัวอย่างเช่น ยกข้อความ หรือภาพวาด คำที่ใช้ในบทคัดย่อเป็นคำสำคัญ (Key Word)  เพื่อประโยชน์ในการทำดรรชนีเพื่อการสืบค้นนักเรียนสามารถใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นแนวทางในการสะกดคำ

-          ความเฉพาะ กระชับ ชัดเจน ประโยคแต่ละประโยคมีความหมายโดยเฉพาะประโยคและพยายามเขียนให้สั้นที่สุด

-          ลักษณะของการรายงานมากกว่าการประเมิน จึงไม่ควรมีคำวิจารณ์ นอกจากการรายงานพบข้อมูลตัวเลขที่สำคัญที่ได้จากการทำโครงการ

-          ความน่าอ่านและราบรื่น การเขียนใช้ประโยชน์สมบูรณ์ในรูปแบบของอกรรมกริยา (Active Voice)  ใช้ปัจจุบันกาลเมื่อสรุปและประยุกต์ผลการทำโครงการหรือพัฒนาในขณะที่ใช้อดีตกาลเมื่อถึงวิธีพัฒนาและการทดสอบ

7.2    กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ คือ ข้อความกล่าวขอบคุณผู้ช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการค้นคว้าเพื่อเขียนโครงการ กิตติกรรมประกาศนี้ให้เขียนไว้ต่อจากส่วนที่เป็นบทคัดย่อความยาวไม่เกิน 1 หน้า


7.3    สารบัญ

สารบัญ เป็นรายการที่แสดงถึงส่วนประกอบสำคัญทั้งหมดของโครงการเรียงตามลำดับ เลขหน้า ตามที่ได้กำหนดไว้ สำหรับสารบัญตาราง ถ้ามีจะเป็นส่วนที่แจ้งตำแหน่งหน้าที่ของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในโครงการและสารบัญภาพ หรือสารบัญแผนภูมิ เป็นส่วนที่แจ้งตำแหน่ง หน้าของภาพ (รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ กราฟ ฯลฯ) ทั้งหมดที่มีอยู่ในโครงการ

7.4    บรรณานุกรม

บรรณานุกรม คือ หนังสือทุกเล่มที่ใช้อ่านประกอบหรืออ้างอิงในการทำโครงการข้อมูลที่จำเป็นในการเขียนบรรณานุกรม ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ ข้อมูลอื่น ๆ  ที่ระบุเพื่อความชัดเจนของรายการนั้นได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่ จำนวนเล่ม จำนวนหน้าทั้งหมด

ผู้ใช้สามารถเลือกแบบแผนใด แบบหนึ่งได้ตามความสะดวก ประการสำคัญคือ ใช้แบบนั้นตลอด

 

แบบแผนการเขียนที่ถูกต้อง

            ผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี).//ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่(ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

            หมายเหตุ  //  คือให้เว้นวรรค 2 เคาะ

            โดยการใช้เครื่องหมายวรรคตอนจะมีข้อกำหนดในการใช้ดังนี้

  1. เครื่องหมายมหัพภาค (Period) ให้เว้น 2 ระยะ ใช้เมื่อ
  • เขียนคำย่อชื่อแรก (Initial) เช่น S.Sirilaksana
  • ไว้ที่ท้ายคำย่อเช่น p.(page), min.(minutes)
  • จบข้อความในรายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน.ศัพท์คอมพิวเตอร์แบบราชบัณฑิตยสถาน
  1. เครื่องหมายจุลภาค หรือ , (Comma) ให้เว้น 1 ระยะ
  • ใช้คั่นระหว่างข้อความสุดท้ายของรายการอ้างอิง เช่น วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ,พ.ศ. 2551.
  1. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ ; (Semi-colon) ให้เว้น 1 ระยะ
  • ใช้คั่นระหว่างชาวต่างประเทศหลาย ๆ คน

  1. เครื่องหมายมหัพภาคคู่ หรือ : (Colons) ให้เว้น 1 ระยะ
  • ใช้คั่นระหว่างสถานที่พิมพ์และสำนักพิมพ์

การพิมพ์บรรณานุกรม ให้แยกเป็นหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเรียงตามอักษร ก-ฮ และ A-Z

 

7.5    ภาคผนวก

หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่มีคำว่า ภาคผนวก อยู่กลางหน้ากระดาษในกรณีมีหลายภาคผนวก ในหน้าต่อไปพิมพ์คำว่า ภาคผนวก ก ไว้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว บรรทัดต่อมาพิมพ์ชื่อภาคผนวก โดยเว้นจากบรรทัดบน 3 บรรทัด พิมพ์เดี่ยว ถ้าชื่อยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์ชื่อเดียวกับชื่อบท ต่อจากภาคผนวกให้พิมพ์ 2 บรรทัดพิมพ์เดี่ยว แล้วจึงพิมพ์ข้อความต่อไป เมื่อภาคผนวกมีหลายภาคให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก , ภาคผนวก ข, ภาคผนวก ค แต่ละภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่

 

7.6  ประวัติผู้เขียน

การเขียนประวัติผู้เขียนนี้ให้เขียนเป็นความเรียง โดยไม่ต้องแยกเป็นข้อ ๆ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า ได้แก่ นาย นางสาว นาง แต่ถ้ามียศฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณะศักดิ์ ก็ให้ใส่ไว้ด้วย พร้อมวันเดือนปี เกิด วุฒิการศึกษาล่าสุด สถานศึกษาและ พ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษารวมทั้งประสบการณ์ ผลงานทางวิชาการ รางวัลหรือทุนการศึกษาเฉพาะที่สำคัญ ตำแหน่งและสถานที่ ทำงานของผู้เขียน หรือ สถานที่ที่สามารถติดต่อได้ รวมไปถึง E-mail Address พร้อมติดรูปชุดนักศึกษาหน้าตรง ให้เรียบร้อย

 


บทที่  2

 

การพิมพ์เอกสาร

 

2.1     ตัวพิมพ์

ให้ใช้เครื่องพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็น Laser Printer หรือ ink jet ตัวอักษรต้องเป็นสีดำ และใช้ตัวพิมพ์แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม (ยกเว้น  บทที่  ชื่อบท  และหัวข้อหลักที่ใช้ตัวเข้ม) ทั้งที้ควรใช้ฉบับสำเนา (ถ่ายเอกสาร) ที่ปรับแต่งให้ถูกต้องแล้วเป็นชุดสมบูรณ์  สำหรับการพิมพ์เอกสารชุดนี้ได้แก่

-          ใช้โปรแกรม Microsoft Word ในการพิมพ์เอกสาร

-          รูปแบบตัวอักษร Cordia New

-          ขนาดตัวอักษร 16 point ทั้งเล่ม (ในส่วนของเนื้อหา)

-          จัดเอกสารแบบชิดขอบ

-          เฉพาะส่วนที่เป็นหัวเรื่องให้ใช้ตัวหนา นอกนั้นตัวธรรมดา

 

2.2     กระดาษที่ใช้พิมพ์

ให้ใช้กระดาษขาวที่ไม่มีบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 ใช้เพียงหน้าเดียว (ถ้าส่งงานที่ยังไม่ใช่ฉบับสมบูรณ์ สามารถใช้กระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียวได้ (Reuse)  เพื่อเป็นการประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อมและขอให้กากบาทด้านที่ใช้แล้วเพื่อไม่ให้สับสน

 

2.3     การเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ

หัวกระดาษให้เว้นไว้ 1 นิ้ว ยกเว้น หน้าที่ขึ้นบทใหม่ของแต่ละบทให้เว้น 1.5 นิ้ว ขอบซ้ายมือเว้นไว้ 1.5 นิ้ว ขอบขวามือเว้นไว้ 1 นิ้ว ขอบล่างเว้นไว้ 1 นิ้ว ถ้าพิมพ์คำสุดท้ายไม่จบในบรรทัดนั้น ๆ ให้ยกคำนั้นทั้งคำไปพิมพ์ในบรรทัดต่อไป ไม่ควรตัดส่วนท้ายของคำไปพิมพ์ในบรรทัดใหม่ เช่น  ฐานันดรศักดิ์ เป็น ฐานัน – ดรศักดิ์ เป็นต้น  และในการพิมพ์เอกสารโดยการจัดแบบชิดขอบเครื่องจะตัดคำอัตโนมัติในบางโปรแกรมอาจแทรกช่องว่างไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้รูปต่าง ๆ ผิดไป เช่น การเว้นวรรคอาจจะเกิน 2 เคาะ ตามรูปแบบที่กำหนดแต่อนุโลมให้เกิน 2 เคาะได้ทั้งนี้ต้องจัดคำให้อ่านได้ใจความ

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

ตัวอย่างเอกสาร
ตัวอย่างหน้าบทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

ชื่อโครงการภาษาไทย..........................................................................................................

ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ.....................................................................................................

โดย 1.  ....................................................................                 รหัสนักศึกษา …………..

       2…………………………………………………..                   รหัสนักศึกษา  ………….

อาจารย์ที่ปรึกษา.................................................................................................

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม...........................................................................................

.................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................


ตัวอย่างหน้ากิตติกรรมประกาศ

 

กิตติกรรมประกาศ

 

........................................................................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

คณะผู้จัดทำ
ตัวอย่างหน้าคำนำ

 

คำนำ

 

........................................................................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................

คณะผู้จัดทำ

วัน  เดือน  ปี

 


ตัวอย่างหน้าสารบัญ

 

สารบัญ

                                                                                                                               หน้า

หน้าอนุมัติ                                                                                                                             ก

บทคัดย่อ                                                                                                                               ข

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                  ค

คำนำ                                                                                                                                    ง

สารบัญ                                                                                                                                 จ

สารบัญรูป                                                                                                                             ช 

สารบัญตาราง                                                                                                                       ญ

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                          

1.1   ภูมิหลังและความเป็นมา                                                                                                 1

1.2   วัตถุประสงค์                                                                                                                  2

1.3   ขอบเขตการศึกษา                                                                                                           3

1.4   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                               4

1.5   แผนการดำเนินงาน                                                                                                         5

1.6   การประมาณค่าใช้จ่าย                                                                                                    6

บทที่ 2

/

/

/

/

/

บรรณานุกรม                                                                                                                      120

ภาคผนวก                                                                                                                         121

ประวัติผู้จัดทำ                                                                                                                    122


 

ตัวอย่างหน้า บรรณานุกรม

 

บรรณานุกรม

 

แน่งน้อย  ใจอ่อนน้อม.  การประมวลผลทางธุรกิจโดยใช้ภาษาโคบอล.  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

, 2533.

ราชบัณฑิตยสถาน.  ศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2535.


ตัวอย่างหน้าประวัติผู้จัดทำโครงการ

 

ประวัติผู้จัดทำโครงการ

รูปถ่าย

ชุดนักศึกษา

ขนาด 1 นิ้ว

           

นาย..........................................  เกิดเมื่อวันที่  …………………….. 

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียน............ จังหวัด.................. 

และกำลังศึกษาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ที่โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา   ปัจจุบันอาศัยที่บ้านเลขที่ 209  

แขวงบางนา  เขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร  10160 

เบอร์โทรศัพท์ ................................ 

E-Mail Address  ::  ………………………………….

 

 

รูปถ่าย

ชุดนักศึกษา

ขนาด 1 นิ้ว

 


นาย..........................................  เกิดเมื่อวันที่  …………………….. 

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียน............ จังหวัด.................. 

และกำลังศึกษาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ที่โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา   ปัจจุบันอาศัยที่บ้านเลขที่ 209  

แขวงบางนา  เขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร  10160 

เบอร์โทรศัพท์ ................................ 

E-Mail Address  ::  ………………………………….