ประวัติวิทยาลัยฯ

            วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา  เดิมชื่อ  โรงเรียนพณิชยการอยุธยา  และเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา  อีกครั้งเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา  สังกัดสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ  ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2521 ตามใบอนุญาตเลขที่ 1715/2521 โดยเปิดสอนหลักสูตรกรมอาชีวศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ โดยมี นางสาวสมจิตร ศิริเสนา เป็นผู้รับใบอนุญาต

            ปลายปี ๒๕๒๐ ความคิดมุ่งหวังให้เยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เรียนสายวิชาชีพ เป็นแรงบันดาลใจให้ก่อตั้งโรงเรียนขนาดเล็กๆ ขึ้น ด้วยความตั้งใจจริงที่จะทํางานด้านการศึกษา จึงเริ่ม ดําเนินการรับสมัครทั้งครูและนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๒๑ สร้างอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียว ๒ หลัง บนเนื้อที่ ๒ ไร่เศษ ริมถนนโรจนะ ซึ่งดําเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน นักเรียนรุ่นแรก ๓๑๕ คน ผู้บริหาร และครู ๑๗ คน ต้องเผชิญสภาพลมฟ้าอากาศ เมือฝนตกพายุมาต้องหอบข้าวของหลบหาที่กําบัง แต่ก็ผ่าน อุปสรรคได้ด้วยดี ทําให้เกิดความคิดว่า เมื่อริเริ่มงานใดต้องให้สําเร็จและก้าวหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง จึงเริ่มสร้างตึก ๓ ชั้น ๑ หลัง จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายกิจการจนถึงขณะนี้มีที่ดินรวม ๑๑ ไร่เศษ อาคารเรียน 4 หลัง

            เกิดความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จ พระสังฆราชสกลมหาสังขปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธานเจิมป้ายชื่อโรงเรียน “พณิชยการอยุธยา” ปี ๒๕๒๓ ต่อมาในปี ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) เสด็จเป็น องค์ประธานพิธีประทานประกาศนียบัตรผู้สําเร็จการศึกษา โรงเรียนได้พัฒนาเรื่อยมาอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นผลให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานถึง ๕ ครั้ง ปี ๒๕๕๕ ได้รับโล่ทองคําโรงเรียนรางวัล พระราชทานครั้งที่ ๕ จากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แสดงถึงความ ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร นักศึกษา ตลอดจนศิษย์เก่าทุกรุ่น แม้จะสําเร็จการศึกษาไปแล้ว ก็ยังคง แวะเวียนมาให้กําลังใจเสมอมา

            ถึงวันนี้ เราจะยังคงมุ่งมั่นจะพัฒนาต่อไปเพื่อเข้าสู่ระดับสากล เพราะเราตระหนัก ดีว่า “ชาติจะเจริญไม่ได้ ถ้าคนในชาติขาดการศึกษา”

การจัดการศึกษา

            วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา  ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2521  ตามใบอนุญาตเลขที่ 1715/2521 โดยเปิดสอนหลักสูตรกรมอาชีวศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ โดยมี นางสาวสมจิตร ศิริเสนา เป็นผู้รับใบอนุญาต วิชาที่เปิดสอน คือ วิชาพาณิชยกรรม

ปี พ.ศ.2524 วิทยาลัยฯจึงได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตร 2520 เป็น 2524 ของกรมอาชีวศึกษา และในปีเดียวกันได้เปิดทำการสอน 2 รอบ มีจำนวนนักศึกษา ประมาณ  4,000  คน

ปี พ.ศ.2525 ได้ขอขยายหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาการบัญชีและการตลาดในภาคเช้า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการบัญชี การเลขานุการ ในภาคบ่าย และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “ โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา ”

ปี พ.ศ.2527 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปี พ.ศ.2531 ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงหลักสูตร 2 ระดับ คือ ปวช. และ ปวส. จากเดิมซึ่งใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา เป็นหลักสูตรวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา  และขอเพิ่มหลักสูตรสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับ (ปวท.) โดยสรุปมีหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนนี้ รวม 2 หลักสูตรด้วยกัน

ปี พ.ศ.2533 ได้รับอนุญาตเปิดสอนสายวิชาอุตสาหกรรมเพิ่มอีก 1 หลักสูตร รวม 3 สาขาวิชาคือสาขาวิชาช่างกลโรงงานสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิชาช่างยนต์  หลักสูตรวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.

ปี พ.ศ.2536 ได้รับอนุญาตเปิดสอนสาขาวิชาช่างไฟฟ้า หลักสูตรวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.

ปี พ.ศ.2537 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างไฟฟ้า และสาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม 

ปี พ.ศ.2538 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลประเภทวิชาอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างยนต์ – เทคนิคยานยนต์

ปี พ.ศ.2540 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงานและ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ - เทคนิคคอมพิวเตอร์

ปี พ.ศ.2541 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของกรมอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ 

ปี พ.ศ.2542 ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้แผนการเรียนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) คือใช้หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2540 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และใช้หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)พุทธศักราช 2540 ของกรมอาชีวศึกษา ตามสาขาที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน

ปี พ.ศ.2546 ขอขยายหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 ของกรมอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยกรรม สาขางานภาษาต่างประเทศ และขอขยายหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2540 (เพิ่มเติม พ.ศ.2545) ของกรมอาชีวศึกษา ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ปี พ.ศ.2549 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ

ปี พ.ศ.2550 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์และสาขาวิชาการออกแบบ

ปี พ.ศ.2551 ขอเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม  สาขาวิชาแม่พิมพ์

ปี พ.ศ.2552 ขอเพิ่มหลักสูตร และจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  สาขาวิชาพณิชยการ  สาขางานธุรกิจค้าปลีก

ปี พ.ศ.2553 วิทยาลัยได้จัดตั้ง สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานใหม่โดยนำเอา IT เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทันสมัยที่สุดมาบริหารจัดการองค์กรทั้งระบบ

ปี พ.ศ.2554 โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยาเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา

ปี พ.ศ.2557 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจการของวิทยาลัย ขออนุญาตใช้หลักสูตรวิธีการเรียนการสอน ของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 ดังนี้ 

1) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาชาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ 
2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์  สาขาวิชาช่างยนต์

ปี พ.ศ.2558 ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปี พ.ศ.2558 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจการของวิทยาลัย ขออนุญาตใช้หลักสูตรวิธีการเรียนการสอน ของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557  ดังนี้

1) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขางานเครื่องมือกล สาขาวิชาไฟฟ้าสาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

2) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาขางานการตลาด สาชาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

3) ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปี พ.ศ.2559 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจการของวิทยาลัย ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้า สาขางานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง และสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง

ปี พ.ศ.2561 ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 (เพิ่มเติม พ.ศ.2559) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง สาขางานซ่อมบำรุงทางรถไฟระบบทวิภาคี

ปี พ.ศ.2562 ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) ดังนี้

1) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 รอบเช้าและรอบบ่าย จัดการเรียนการสอนระบบปกติ
     - ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขางานการท่องเที่ยว 
     - ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาการถ่ายภาพและวีดีทัศน์ สาขางานการถ่ายภาพและวีดีทัศน์ 

2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 รอบเช้าและรอบบ่าย จัดการเรียนการสอนระบบปกติ
     - ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขางานการท่องเที่ยว 
     - ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาการถ่ายภาพและมัลติมีเดีย สาขางานการถ่ายภาพและมัลติมีเดีย 
     - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขางานการจัดการโลจิสติกส์

ปี พ.ศ.2563 ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 รอบเช้าและรอบบ่าย ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จัดการเรียนการสอนระบบปกติ

สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ  11  ไร่เศษ  มีอาณาเขต  ดังนี้
ทิศเหนือ         ติดต่อ   จังหวัดอ่างทองและจังหวัดลพบุรี
ทิศใต้              ติดต่อ   จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก  ติดต่อ   จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก    ติดต่อ   จังหวัดสุพรรณบุรี

วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา (รหัสสถานศึกษา 1314100024)
ที่ตั้ง  เลขที่  94  หมู่ที่ 6 ถนนโรจนะ  ต าบลไผ่ลิง  อ าเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  รหัสไปรษณีย์  13000
โทรศัพท์ 0-3533-5873 หรือ 06-5771-4555
Website  www.atcc.ac.th   E - mail  atcc@atcc.ac.th