ใบความรู้สัปดาห์ที่ 2
ใบความรู้สัปดาห์ที่ 2
1.8 การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
การศึกษาลักษณะที่เราสนใจลักษณะหนึ่งเมื่อเราได้ข้อมูลมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ เรียกข้อมูลที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ว่า ข้อมูลดิบ แต่กรณีที่ข้อมูลดิบมีจำนวนมาก ต้องจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่นี่เรียกว่าการแจกแจงข้อมูลมีวิธีการสร้างตารางแจกแจงความถี่ดังต่อไปนี้
- หาค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด
- หาค่าพิสัยจากสูตร พิสัย = ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด
- กำหนดอันตรภาคชั้นหาได้จากสูตร ความกว้างของอันตรภาคชั้น = พิสัย/จำนวนชั้น
- สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยชั้นแรกจะเป็นคะแนนที่มีค่าต่ำสุด จนถึงชั้นที่มีคะแนนสูงสุด
- หาความถี่ของแต่ละอันตรภาคชั้น
- ความถี่สะสม หมายถึง ความถี่สะสมของคะแนนที่เรียงจากชั้นที่น้อยไปหาชั้นที่มาก
- ความถี่สมพัทธ์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างความถี่ของข้อมูลในแต่ละชั้น กับจำนวนข้อมูลทั้งหมด
- ความถี่สะสมสัมพัทธ์ หมายถึงผลรวมของความถี่สัมพัทธ์จากชั้นที่มีคะแนนน้อยไปหาชั้นที่มีคะแนนมาก ความถี่สะสมสัมพัทธ์ของชั้นสุดท้ายต้องเท่ากับ 1
- จุดกึ่งกลางชั้น เป็นจุดกึ่งกลางชั้นของแต่ละชั้นของความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้นหาได้
จากผลรวมของขีดจำกัดล่างกับจำกัดบนของชั้นนั้นๆ หารด้วยสอง
ตัวอย่างที่ 1 . ผลการชั่งน้ำหนักของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ดังนี้
46 47 49 50 52 29 45 44 50 40
35 47 49 56 70 80 46 47 49 50
35 40 39 60 65 69 61 50 52 41
70 35 49 30 46 30 47 48 50 45
จงสร้างตารางแจกแจงความถี่ ให้มีจำนวนชั้นของอันตรภาคชั้น 5 ชั้น พร้อมทั้งหาความถี่สะสม ความถี่สะสมสัมพัทธ์ ความถี่สัมพัทธ์และจุดกึ่งกลาง
น้ำหนัก |
รอยขีด |
Fi |
F |
F สัมพัทธ์ |
Fi สัมพัทธ์ |
จุดกึ่งกลาง |
29 - 39 40 - 50 51 - 61 62 - 72 73 - 83 |
|||| || |||| |||| |||| |||| ||| |||| |||| | |
7 23 5 4 1 |
7 30 35 39 40 |
0.17 0.75 0.87 0.97 1 |
0.17 0.57 0.12 0.10 0.02 |
34 45 56 67 78 |