ใบความรู้สัปดาห์ที่ 11

ใบความรู้สัปดาห์ที่ 11

บทที่5  การทดสอบสมมติฐาน

  5.1  สมมติฐานทางสถิติ

สมมติฐาน (Hypothesis)ข้อสมมติฐานที่เรากำหนดขึ้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรของประชากรที่เราสนใจตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไปซึ่งข้อมูลสมมติฐานที่กำหนดขึ้นมาอาจจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) คือ ข้อสมมติหรือสมมติฐานที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับลักษณะของประชากรที่เราสนใจศึกษาข้อสมมติ หรือสมมติฐานที่เรากำหนดขึ้นเกี่ยวกับลักษณะของประชากรที่เราสนใจ เช่น ต้องการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับอายุการใช้งานเฉลี่ยของหลอดไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่ง เราต้องเลือกสุ่มจากตัวอย่างจากผู้ใช้หลอดไฟยี่ห้อนี้มาสอบถามแล้วนำมาทดสอบสมมติฐานและกลุ่มตัวอย่างนำมาเป็นตัวแทนของประชากรต้องเชื่อถือได้และเป็นตัวแทนที่ดี

5.2  การตั้งสมมติฐานทางสถิติ

                การตั้งสมมติฐานทางสถิติเป็นการกล่าวถึงลักษณะของประชากรตั้งไว้เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานว่าจริงหรือไม่มี  2  ประเภท

1. สมมติฐานว่าง หรือสมมติฐานหลัก(Null Hypothesis) ใช้สัญลักษณ์ Ho เป็นสมมติฐานที่ 

    แสดงการเท่ากัน หรือไม่แตกต่างกันของพารามิเตอร์ หรือลักษณะของประชากร

2. สมมติฐานแย้ง (Alternative Hypothesis) หรือสมมติฐานรองใช้สัญลักษณ์ Ha เป็น

    สมมติฐานแย้งตัวสมมติฐานว่าง และเป็นสมมติฐานที่ต้องตั้งคู่ไปกับสมมติฐานหลัก ลักษณะการตั้งสมมติฐานในทางสถิติ

  1. การตั้งสมมติฐานแบบ 2 ทาง จะตั้งสมมติฐานโดยใช้เครื่องหมาย “ = ” กับ “ ≠ ”
  2. การตั้งสมมติฐานแบบทางเดียว จะตั้งสมมติฐานโดยใช้เครื่องหมาย “ < ”
  3. การตั้งสมมติฐานแบบทางเดียวด้านขวามือ  จะตั้งสมมติฐานโดยใช้เครื่องหมาย “ > ”

           ความคลาดเคลื่อนในการทดสอบสมมติฐานมี 2 ลักษณะ คือ

1. ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 (Type  error) คือความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการปฏิเสธ Ho

    เมื่อ Ho เป็นจริงความน่าจะเป็นที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนแบบที่เรียกว่า µ   

              2. ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 2 (Type  error) คือความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการยอมรับ Ho

                    เมื่อ Ho ไม่เป็นจริงความน่าจะเป็นที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนแบบนี้เรียกว่า B